เมื่อเช้าวันที่ 30 กรกฎาคม 2558 พุทธศาสนิกชนจำนวนมากมาร่วมกันถวายสังฆทาน ผ้าอาบน้ําฝนและภัตตาหารเช้า แด่พระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาแห่งนี้ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เนื่องในวันเข้าพรรษา ณ. วัดอภัยทายาราม (วัดมะกอก)
วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ทำบุญวันเข้าพรรษา
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2558 พุทธศาสนิกชนจำนวนมากมาร่วมกันถวายสังฆทาน ผ้าอาบน้ําฝนและภัตตาหารเช้า เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เนื่องในวันเข้าพรรษา ณ. วัดอภัยทายาราม (วัดมะกอก)
ทหาร พล ม.๒ มาเวียนเทียน ณ วัดอภัยทายาราม (วัดมะกอก)
เนื่องในวันงานอาสาฬหบูชา ๒๕๕๘ ปีนี้ เมื่อเวลา ๑๖.๐๐น. ผู้บังคับบัญชา ได้นำเหล่าทหารๆมาพร้อมใจกันทำบุญเวียนเทียนเพื่อถวายน้อมรำลึกนึกถึง คุณของพระพุทธ คุณของพระธรรม และคุณของพระสงฆ์ ณ วัดอภัยทายาราม (วัดมะกอก)
คุณโยม พล.ต.สาโรช เขียวขจี ผอ.ร.พ.พระมงกุฎฯ
นำแพทย์ พยาบาลข้าราชการทหาร เจ้าหน้าที่ และลูกจ้าง ฟังพระธรรมเทศนา ถวายไทยธรรม กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล และเวียนเทียนรอบอุโบสถ เมื่อวันวิสาขบูชาที่ผ่านมา ที่วัดอภัยทายาราม(วัดมะกอก) เขตราชเทวี กทม.
ทหารเวียนเทียนในวัน "วันอาสาฬหบูชา" 2558 ณ วัดมะกอก
ภาพบรรยากาศ ทหารมาเวียนเทียนเนื่องในวัน"วันอาสาฬหบูชา" 2558
สำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน คงทราบกันดีว่า วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน นั่นคือ "วันอาสาฬหบูชา" ซึ่งในปี 2558 นี้ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม (ขึ้น 15 คํ่า เดือน 8)พุทธศาสนิกชนมาทำบุญในวันอาสาฬหบูชา
เช้าวัน "วันอาสาฬหบูชา" ซึ่งในปี 2558 นี้ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม (ขึ้น 15 คํ่า เดือน 8)
พระสงฆ์ฟังสวดพระปาฏิโมกข์ในวันอาสาฬหบูชา 2558
วันอาสาฬหบูชา 2558 ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม โดยวันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมเทศนา หรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรก
วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
โรงเรียน สวนมิสกวันถวายเทียน
เช้าวันที่ ๒๙ กรกฏาคม ๒๕๕๘ คุณครูอาจารย์สวนมิสกวันได้น้ำเด็กนักเรียนแห่เทียนจำนำพรรษามาถวาย ณ วัดอภัยทายาราม (วัดมะกอก)
วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
สถานที่หล่อเทียนเข้าพรรษา
ขอเรียนเชิญเจริญพรญาติโยมสาธุชนร่วมหล่อเทียนพรรษา เพื่อถวายเป็นพุทธปูชา
ไว้ในพุทธศาสนา เนื่องในวันเข้าพรรษา ๒๕๕๘ หล่อเทียนเข้าพรรษา ณ ศาลาการเปรียญทางวัดอภัยทายารามโรงเรียนศูนย์เด็กเล็กจิตต์นัฐดา
วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
กศน.แขวงทุ่งพญาไท มาถวายเทียน
วัดอภัยทายาราม ขออนุโมทนากับ กศน แขวงทุ่งพญาไท ศูนย์การเรียนชุมชนกองพลที่๑ รักษาพระองค์ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานครฯ
วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
สำนักงานเขตราชเทวี มาถวายเทียนเข้าพรรษา
สำนักงานเขต ราชเทวี มาถวายเทียนเข้าพรรษา ที่วัดอภัยทายาราม (วัดมะกอก) เช้าวันที่ 22 กรกฎาคม 2558 เวลา 09.30 น.
วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา
วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ในสมัยพุทธกาลมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 4 ประการ ดังต่อไปนี้
วันเข้าพรรษา 2558 ตรงกับวันที่ 31 กรกฎาคม วันนี้
วันเข้าพรรษา 2558 ตรงกับวันที่ 31 กรกฎาคม วันนี้เรามี ประวัติวันเข้าพรรษา ความสำคัญของวันเข้าพรรษา หมายถึงอะไร มาดูกัน
วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
เรื่องของเ็ด็กหนุ่มชื่อ มัฏฐกุณฑลี
มัฏฐกุณฑลี(มัด-ทะ-กุน-ทะ-ลี) เป็นเด็กหนุ่มเมืองสาวัตถี เกิดในตระกูลพราหมณ์ พ่อแม่เป็นคนรวยมากแต่สุดยอดของความขี้เหนียว จนชาวบ้านให้สมญานามว่า "อนินนปุพพกะ"
แปลว่า "ผู้ไม่เคยให้อะไรแก่ใครเลย"
แต่ถึงกระนั้นก็ยังอุตส่าเอาทองคำบริิสุทธิมาทำเป็นต่างหูให้ลูกชาย
คนทั้งหลายจึงเรียกเด็กผู้นี้ว่า มัฏฐฑกุณฑลี ซึ่งแปลว่า "มีตุ้มหูเกลี้ยง"
ตุ้มหูนี้พ่อเป็นคนลงมือทำให้เองไม่ได้จ้างช่างทองที่ไหนเพราะว่ากลัวจะ
เปลือง
ทำบุญอุทิศส่วนกุศล จะมีผลถึงผู้ล่วงลับหรือไม
มีปัญหาที่คาใจท่านพุทธศาสนิกส่วนใหญ่อยู่ข้อหนึ่ง ปัญหานั้นก็คือการทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย บุญนั้นจะถึงผู้ตายหรือไม่ ?
คัดลอก จาก พระสุตตันตปิฎก ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย (องฺ.ทสก. 24/166/290) จึงขอถอดความมาเล่าดังต่อไปนี้ มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อชาณุสโสณีเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นกล่าวคำปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรทูลถามพระพุทธเจ้าว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! พวกข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ มีความเชื่อว่า ทานที่แล้วย่อมมีผลแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วหลังทำทานจึงอุทิศส่วน กุศลไปให้ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับ ทานนั้นจะถึงแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับหรือไม่ ?
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "พราหมณ์ ! ทานที่ให้จะสำเร็จแก่ผู้ที่ล่วงลับหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้รับถ้าผู้รับอยู่ใน "ฐานะ" (โอกาส) ก็จะได้รับ ถ้าอยู่ใน "อฐานะ" (ที่มิใช่โอกาส) ก็ไม่ได้รับ"
พราหมณ์ทูลถามต่อว่า "ที่ว่าอยู่ในฐานะและอฐานะนั้นคืออย่างไร
พระพุทธเจ้าตรัสสรุปไว้ว่า "ถ้าผู้ตายทำกรรมที่เป็นอกุศลไว้ และไปเกิดในภูมิที่ไม่เจริญ คือนรก เดรัจฉาน เป็นต้น หรือสร้างกุศลไว้แล้วไปเกิดในภูมิที่เจริญ เช่นมนุษย์สวรรค์ เป็นต้น ชื่อว่าเกิดในที่เป็น "อฐานะ" คือมิใช่สถานที่ที่จะได้รับส่วนบุญ เพราะอาหารของผู้ที่เกิดในที่นั้นๆ มิใช่ส่วนบุญที่บุคคลอุทิศไปให้ แต่ถ้าทำอกุศลไว้ แล้วไปเกิดในปิตติวิสัย คือภูมิแห่งเปรต และเฉพาะเปรตที่มีชื่อว่า "ปรทัตตูปชีวี" คือเปรตประเภทที่มีส่วนบุญที่มีผู้อุทิศไปให้เป็นอาหารเท่านั้นจึงจะได้รับ แต่ต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ด้วยการอนุโมทนาด้วยตนเองของเปรตทั้งหลาย 1 ด้วยการอุทิศของทายกทั้งหลาย 1 ด้วยการถึงพร้อมด้วยทักขิเณยยบุคคล คือผู้รับไทยธรรมต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ 1. ส่วนเปรตอีก 3 ประเภทคือ อันตาสิกเปรต (เปรตที่มีอาเจียนเป็นอาหาร) ขุปปิปาสิกเปรต (เปรตที่มีความหิวกระหายเป็นประจำ) และ นิชฌามตัณหิกเปรต (เปรตที่มีไฟเผาตัวตลอดเวลา) ซึ่งแต่ละประเภทมีอาหารที่ไม่ใช่ส่วนบุญที่ญาติสาโลหิตอุทิศไปให้ ก็อยู่ใน "อฐานะ" คือไม่ได้รับส่วนกุศลที่อุทิศไปให้ พราหมณ์ทูลถามต่อไปว่า "ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครจะได้บริโภคส่วนบุญนั้นเล่า ?"
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "พราหมณ์ ! ถ้าญาติสาโลหิตที่ล่วงลับไปไม่เข้าถึงฐานะนั้น ญาติสาโลหิตแม้เหล่าอื่นของทายกที่เข้าถึงฐานะนั้นมีอยู่ญาติเหล่านั้นย่อม บริโภคทานนั้น"
พราหมณ์ทูลถามต่อว่า "ถ้าญาติสาโลหิตที่ล่วงลับไม่เข้าถึงฐานะนั้น ทั้งญาติเหล่าอื่นก็ไม่เข้าถึงฐานะนั้น ทั้งญาติเหล่าอื่นก็ไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น ?"
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "พราหมณ์ ! เวลาสังสารวัฏล่วงมาช้านาน โอกาสที่ญาติสาโลหิตของแต่ละคนไม่ตกอยู่ในฐานนั้นบ้าง เป็นไปได้ยาก แต่ถึงอย่างไร ผู้ให้ก็ย่อมไม่ไร้ผล" พราหมณ์ค้านว่า "ถ้าเช่นนั้น พระองค์ก็ทรงตรัสแม้ในอฐานะหรือ ?" พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า "ใช่ เรากล่าวกำหนดแม้ใน "อฐานะ" คือบุคคลบางคนในโลกประพฤติในอกุศลกรรมบถมีฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น แต่ได้ทำบุญ ให้ข้าว น้ำ ยามาลา และของหอมเป็นต้น เมื่อตายไปเกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เช่น ช้าง ม้า เป็นต้น เขาย่อมได้ข้าว น้ำ และเครื่องประดับในกำเนิดที่เกิดนั้นๆ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกเว้นจากอกุศลกรรมบถ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ทั้งทำทานด้วยข้าว น้ำ ของหอม ที่นอน ที่พัก เป็นต้น เมื่อตายไปแล้วกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ เขาย่อมได้กามคุณอันเป็นของมนุษย์ในมนุษยโลกด้วยกรรมนั้น แต่ถ้าด้วยอำนาจบุญที่ทำไว้ในโลกมนุษย์มีผลให้เกิดเป็นเทวดา เขาย่อมได้รับเบญจกามคุณ อันเป็นทิพย์ในเทวโลกนั้นด้วยกรรมนั้น
พราหมณ์ ! แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผลด้วยประการฉะนี้"
ข้อความข้างต้นนี้ถอดความมาจาก "ชาณุโสณีสูตร"ท่านที่มีความประสงค์จะอ่านโดยความพิสดาร โปรดหาอ่านได้ในพระไตรปิฎกที่อ้างถึง พระสูตรนี้น่าจะช่วยแก้ปัญหาคาใจดังกล่าวข้างต้นและทำให้มั่นใจในการทำบุญ อุทิศแด่ผู้ล่วงลับได้ว่า เป็นสิ่งไม่ไร้ผลอย่างแน่นอน
ที่มา พระสุตตันตปิฎก ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย (องฺ.ทสก. 24/166/290)
คัดลอก จาก พระสุตตันตปิฎก ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย (องฺ.ทสก. 24/166/290) จึงขอถอดความมาเล่าดังต่อไปนี้ มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อชาณุสโสณีเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นกล่าวคำปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรทูลถามพระพุทธเจ้าว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! พวกข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ มีความเชื่อว่า ทานที่แล้วย่อมมีผลแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วหลังทำทานจึงอุทิศส่วน กุศลไปให้ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับ ทานนั้นจะถึงแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับหรือไม่ ?
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "พราหมณ์ ! ทานที่ให้จะสำเร็จแก่ผู้ที่ล่วงลับหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้รับถ้าผู้รับอยู่ใน "ฐานะ" (โอกาส) ก็จะได้รับ ถ้าอยู่ใน "อฐานะ" (ที่มิใช่โอกาส) ก็ไม่ได้รับ"
พราหมณ์ทูลถามต่อว่า "ที่ว่าอยู่ในฐานะและอฐานะนั้นคืออย่างไร
พระพุทธเจ้าตรัสสรุปไว้ว่า "ถ้าผู้ตายทำกรรมที่เป็นอกุศลไว้ และไปเกิดในภูมิที่ไม่เจริญ คือนรก เดรัจฉาน เป็นต้น หรือสร้างกุศลไว้แล้วไปเกิดในภูมิที่เจริญ เช่นมนุษย์สวรรค์ เป็นต้น ชื่อว่าเกิดในที่เป็น "อฐานะ" คือมิใช่สถานที่ที่จะได้รับส่วนบุญ เพราะอาหารของผู้ที่เกิดในที่นั้นๆ มิใช่ส่วนบุญที่บุคคลอุทิศไปให้ แต่ถ้าทำอกุศลไว้ แล้วไปเกิดในปิตติวิสัย คือภูมิแห่งเปรต และเฉพาะเปรตที่มีชื่อว่า "ปรทัตตูปชีวี" คือเปรตประเภทที่มีส่วนบุญที่มีผู้อุทิศไปให้เป็นอาหารเท่านั้นจึงจะได้รับ แต่ต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ด้วยการอนุโมทนาด้วยตนเองของเปรตทั้งหลาย 1 ด้วยการอุทิศของทายกทั้งหลาย 1 ด้วยการถึงพร้อมด้วยทักขิเณยยบุคคล คือผู้รับไทยธรรมต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ 1. ส่วนเปรตอีก 3 ประเภทคือ อันตาสิกเปรต (เปรตที่มีอาเจียนเป็นอาหาร) ขุปปิปาสิกเปรต (เปรตที่มีความหิวกระหายเป็นประจำ) และ นิชฌามตัณหิกเปรต (เปรตที่มีไฟเผาตัวตลอดเวลา) ซึ่งแต่ละประเภทมีอาหารที่ไม่ใช่ส่วนบุญที่ญาติสาโลหิตอุทิศไปให้ ก็อยู่ใน "อฐานะ" คือไม่ได้รับส่วนกุศลที่อุทิศไปให้ พราหมณ์ทูลถามต่อไปว่า "ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครจะได้บริโภคส่วนบุญนั้นเล่า ?"
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "พราหมณ์ ! ถ้าญาติสาโลหิตที่ล่วงลับไปไม่เข้าถึงฐานะนั้น ญาติสาโลหิตแม้เหล่าอื่นของทายกที่เข้าถึงฐานะนั้นมีอยู่ญาติเหล่านั้นย่อม บริโภคทานนั้น"
พราหมณ์ทูลถามต่อว่า "ถ้าญาติสาโลหิตที่ล่วงลับไม่เข้าถึงฐานะนั้น ทั้งญาติเหล่าอื่นก็ไม่เข้าถึงฐานะนั้น ทั้งญาติเหล่าอื่นก็ไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น ?"
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "พราหมณ์ ! เวลาสังสารวัฏล่วงมาช้านาน โอกาสที่ญาติสาโลหิตของแต่ละคนไม่ตกอยู่ในฐานนั้นบ้าง เป็นไปได้ยาก แต่ถึงอย่างไร ผู้ให้ก็ย่อมไม่ไร้ผล" พราหมณ์ค้านว่า "ถ้าเช่นนั้น พระองค์ก็ทรงตรัสแม้ในอฐานะหรือ ?" พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า "ใช่ เรากล่าวกำหนดแม้ใน "อฐานะ" คือบุคคลบางคนในโลกประพฤติในอกุศลกรรมบถมีฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น แต่ได้ทำบุญ ให้ข้าว น้ำ ยามาลา และของหอมเป็นต้น เมื่อตายไปเกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เช่น ช้าง ม้า เป็นต้น เขาย่อมได้ข้าว น้ำ และเครื่องประดับในกำเนิดที่เกิดนั้นๆ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกเว้นจากอกุศลกรรมบถ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ทั้งทำทานด้วยข้าว น้ำ ของหอม ที่นอน ที่พัก เป็นต้น เมื่อตายไปแล้วกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ เขาย่อมได้กามคุณอันเป็นของมนุษย์ในมนุษยโลกด้วยกรรมนั้น แต่ถ้าด้วยอำนาจบุญที่ทำไว้ในโลกมนุษย์มีผลให้เกิดเป็นเทวดา เขาย่อมได้รับเบญจกามคุณ อันเป็นทิพย์ในเทวโลกนั้นด้วยกรรมนั้น
พราหมณ์ ! แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผลด้วยประการฉะนี้"
ข้อความข้างต้นนี้ถอดความมาจาก "ชาณุโสณีสูตร"ท่านที่มีความประสงค์จะอ่านโดยความพิสดาร โปรดหาอ่านได้ในพระไตรปิฎกที่อ้างถึง พระสูตรนี้น่าจะช่วยแก้ปัญหาคาใจดังกล่าวข้างต้นและทำให้มั่นใจในการทำบุญ อุทิศแด่ผู้ล่วงลับได้ว่า เป็นสิ่งไม่ไร้ผลอย่างแน่นอน
ที่มา พระสุตตันตปิฎก ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย (องฺ.ทสก. 24/166/290)
วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ประวัติพระปฏาจาราเถรี
เป็น
ธิดาของเศรษฐีชาวเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล
บิดามารดาเป็นคนมั่งคั่งร่ำรวยนางจึงได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี
นางเป็นหญิงรูปร่างงดงามแต่นางหลงรักชายคนใช้ของนางเอง
เมื่อบิดามารดาจะหาชายหนึ่งในชนชั้นเดียวกันมาแต่งงานด้วย
นางจึงนัดแนะให้คนใช้พาหนีแล้วไปสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยในชนบทอันทุรกันดาร
แห่งหนึ่ง
เริ่มแรกชีวิตในชนบทปฏาจารามีความสุขมากเพราะได้อยู่ใกล้ชิดกับชายคนรัก
เวลาผ่านไปไม่นานนางก็ตั้งครรภ์
ในเวลาใกล้คลอดนางมีความกังวลใจเพราะไม่มีบิดามารดและญาติอยู่ใกล้
นางจึงขอร้องให้สามีพากลับไปหาบิดามารดา
เมื่อสามีปฏิเสธการขอร้องเพราะกลัวเกรงบิดามารดาของนางจะเอาโทษ
นางจึงตัดสินใจหนีออกจากบ้านเพียงลำพัง นางคลอดบุตรคนแรกในระหว่างทาง
เมื่อสามีตามไปพบเข้าได้ชี้แจงเหตุผลต่างๆ จนพานางกลับบ้านได้สำเร็จ
ในเวลาต่อมาปฏาจาราตั้งครรภ์อีกเป็นครั้งที่สองและขอร้องสามีเหมือนครั้ง
ก่อน เมื่อสามีปฏิเสธคำขอร้องเหมือนครั้งที่แล้ว
นางจึงพาบุตรน้อยผู้กำลังหัดเดินหนีออกจากบ้าน
ในระหว่างทางนางปวดท้องอย่างรุนแรงเพราะกำลังจะคลอดบุตรและฝนได้ตกลงมาอย่าง
หนัก
สามีตามไปพบนางกำลังดิ้นทุรนทุรายอยู่ท่ามกลางสายฝนจึงไปตัดไม้เพื่อมาทำที่ กำบังฝนชั่วคราว แต่เขาถูกงูพิษร้ายกัดถึงแก่ความตาย ปฏาจาราคลอดบุตรด้วยความยากลำบาก แล้วนางอุ้มทารกและจูงบุตรน้อยตามไปพบศพสามีจึงมีความเศร้าโศกเสียใจมาก นางตัดสินใจจะพาบุตรไปหาบิดามารดาในเมือง เมื่อมาถึงลำธารใหญ่ที่น้ำกำลังไหลเชี่ยว นางไม่อาจพาบุตรข้ามน้ำพร้อมกันได้ จึงให้บุตรคนโตยืนรอที่ฝั่งข้างหนึ่ง แล้วนางก็อุ้มทารกแรกเกิดเดินข้ามน้ำไปอีกฝั่งหนึ่ง
สามีตามไปพบนางกำลังดิ้นทุรนทุรายอยู่ท่ามกลางสายฝนจึงไปตัดไม้เพื่อมาทำที่ กำบังฝนชั่วคราว แต่เขาถูกงูพิษร้ายกัดถึงแก่ความตาย ปฏาจาราคลอดบุตรด้วยความยากลำบาก แล้วนางอุ้มทารกและจูงบุตรน้อยตามไปพบศพสามีจึงมีความเศร้าโศกเสียใจมาก นางตัดสินใจจะพาบุตรไปหาบิดามารดาในเมือง เมื่อมาถึงลำธารใหญ่ที่น้ำกำลังไหลเชี่ยว นางไม่อาจพาบุตรข้ามน้ำพร้อมกันได้ จึงให้บุตรคนโตยืนรอที่ฝั่งข้างหนึ่ง แล้วนางก็อุ้มทารกแรกเกิดเดินข้ามน้ำไปอีกฝั่งหนึ่ง
หลังจากจัดแจงวาง ทารกน้อยไว้ในที่อันเหมาะสมแล้วนางได้เดินข้ามน้ำเพื่อกลับมารับบุตรคนโต ในขณะที่นางกลับมาถึงกลางน้ำนางเห็นเหยี่ยวตัวหนึ่งกำลังบินโฉบลงเพื่อจิก ทารกเพราะมันเข้าใจว่าเป็นก้อนเนื้อ นางจึงยกมือขึ้นไล่เหยี่ยวแต่ก็ไม่อาจช่วยชีวิตทารกน้อยได้เพราะเหยี่ยวมอง ไม่เห็นอาการที่นางขับไล่จึงเฉี่ยวลูกน้อยไป บุตรคนโตมองเห็นนางยกมือขึ้นทั้งสองข้างเข้าใจว่ามารดาเรียกตนจึงก้าวลงสู่ แม่น้ำอันเชี่ยวและถูกน้ำพัดพาหายไป ปฏาจาราสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างในเวลาใกล้กันแต่นางยังยั้งสติได้ นางเดินร้องไห้เข้าสู่เมืองสาวัตถี และได้ทราบข่าวจากชาวเมืองคนหนึ่งในระหว่างทางว่าลมฝนได้พัดเรือนบิดามารดา ของนางพังทลายและเจ้าของเรือนก็ตายไปด้วย เมื่อนางทราบข่าวนี้นางไมอาจตั้งสติได้ นางสลัดผ้านุ่งทิ้งแล้ววิ่งบ่นเพ้อด้วยร่างกายอันเปล่าเปลือยเข้าไปในพระวิ หารเชตวัน ในขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังทรงแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางบริษัท ประชาชนเห็นนางแล้วร้องบอกกันว่า คนบ้าๆ อย่าให้เข้ามา พระพุทธเจ้าตรัสว่า ปล่อยให้นางเข้ามาเถิด แล้วตรัสให้นางได้สติ นางกลับได้สติดังเดิม ใครคนหนึ่งในที่ประชุมนั้นโยนผ้าให้นางนุ่งห่ม นางนั่งฟังพระธรรมเทศนาอันแสดงถึงความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่งพิจารณาไป ตามพระธรรมเทศนานั้นแล้วได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ทูลขอบวชพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้นางบวชในสำนักของภิกษุณี หลังจากบวชแล้วไม่นาน นางได้เพียรบำเพ็ญสมณธรรมด้วยความตั้งใจจริง และได้บรรลุอรหัตผลในที่สุด
พระปฏาจาราเถรีมีความสนใจในพระวินัยเป็นพิเศษ ตั้งใจศึกษาพระวินัยจนมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งเอตทัคคะ (เป็นเลิศกว่าผู้อื่น) นางเป็นผู้ทรงพระวินัย เป็นกำลังในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ดำรงอยู่ในภาวะภิกษุณีจนพอสมควรแก่อายุขัยแล้วก็นิพพาน
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1. เป็นผู้มีความตั้งใจจริง มนุษย์ยังมีกิเลส ทุกคนย่อมมีความผิดพลาดในชีวิต ถ้าใครผิดพลาดแล้วไม่ยอมแก้ไขปล่อยให้เลยตามเลย เป็นสิ่งไม่ควรทำไม่ดี แต่ถ้าใครกลับตัวและประพฤติตนให้เป็นคนดีได้ ย่อมเป็นบุคคลที่น่านับถือยกย่องเช่นเดียวกับพระปฏาจาราเถรี ซึ่งท่านมีความตั้งใจจริงนำสิ่งที่ผิดพลาดในอดีตมาปรับปรุง ประพฤติปฏิบัติตนจนเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้า
2. เป็นผู้แนะแนวชีวิต พระปฏาจาราเถรีมีความสามารถในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือแก้ปัญหาให้แก่คนที่ประสบการณ์พลัดพราก การสูญเสียคนอันเป็นที่รัก มักจะมาขอคำแนะนำจากท่าน ซึ่งท่านก็ได้ให้คำแนะนำทีดีและช่วยแก้ปัญหาให้พวกเขาเหล่านั้น จนสามารถนำไปปฏิบัติและแก้ปัญหาเองได
ที่มา http://www.br.ac.th/
ประวัติพระนันทาเถรี
เอตทัคคะผู้ยินดีในฌาน
เจ้าหญิงในศากยวงศ์ที่ชื่อนันทา
นั้นมีปรากฏอยู่หลายองค์ เรียกว่า “นันทา”
บ้าง “รูปนันทา” บ้าง สุนทรีนันทา”
บ้าง “อภิรูปนันทา” บ้าง
แต่เมื่อวิเคราะห์ดูแล้ว จะเหลือเพียง ๒ องค์ คือ เจ้าหญิงรูปนันทา
และ
เจ้าหญิงอภิรูปนันทา
เจ้าหญิงทั้งสองนั้น เจ้าหญิงรูปนันทา เป็นพระธิดาของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์
และพระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นพระขนิษฐภคินีของเจ้าชายนันทะ ส่วนเจ้าหญิงอภิรูปนันทา
นั้น อรรถกถากล่าวว่า เป็นพระธิดาของพระเจ้าเขมกศากยะ
มีคู่หมั้นชื่อ เจ้าชายสัจจกุมาร
แต่พระคู่หมั้นก็ได้สิ้นพระชนม์ลงในวันหมั้นนั่นเอง
เรื่องราวของ
เจ้าหญิงรูปนันทา และ เจ้าหญิงอภิรูปนันทานี้ ตามอรรถกถาได้กล่าวไว้คล้ายคลึงกันมาก
ตั้งแต่ เป็นเจ้าหญิงในศากยวงศ์เหมือนกัน ชื่อคล้ายกัน
เป็นผู้มีความงามอย่างยิ่งเหมือนกัน เป็นผู้หลงในความงามของตนเองเหมือนกัน
ออกบวชเป็นภิกษุณีโดยไม่ศรัทธาเหมือนกัน
และพระบรมศาสดาได้ทรงใช้อุบายในการแสดงธรรมในลักษณะอย่างเดียวกัน
จนกระทั่งพระนางทั้งสองบรรลุพระอรหันต์
ประวัติที่จะกล่าวต่อไปนี้ จะเป็นประวัติของ เจ้าหญิงรูปนันทา
ซึ่งต่อมาได้ออกบวชเป็นพระภิกษุณี และได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของภิกษุณีทั้งหลายผู้ยินดีในฌาน
ทั้งนี้ก็โดยเหตุที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป
ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปดังนี้
ตั้งความปรารถนาไว้ในอดีต
ดังได้สดับมา
พระนันทาเถรีนั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้ถือปฏิสนธิในสกุลเศรษฐี
กรุงหังสวดี ต่อมา ขณะเมื่อกำลังฟังธรรมกถาอยู่
เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกา ผู้ยินดียิ่งในฌาน
จึงได้นิมนต์พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกพร้อมด้วยพระสงฆ์
ได้ถวายมหาทานแด่พระองค์ด้วยมือของตน
แล้วตั้งความปรารถนาในตำแหน่งนั้นบ้างในสมัยแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นในอนาคต
ครั้งนั้นพระสุคตเจ้าทรงพยากรณ์ว่า นางจักได้ตำแหน่งที่ปรารถนาดีแล้วนั้น
ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้พระศาสดาพระนามว่าโคดม มีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช
จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก นางจักได้เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักเป็นสาวิกาของพระองค์ มีนามชื่อว่านันทา
เมื่อได้ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้วนางก็มีใจยินดีมีจิตประกอบด้วยเมตตา
บำรุงพระพิชิตมาร ด้วยปัจจัยทั้งหลายตลอดชีวิต
ด้วยกุศลกรรมที่ได้ทำไว้ดีนั้นและด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ เมื่อละร่างกายมนุษย์แล้ว
ก็ได้เวียนว่ายอยู่ในภพภูมิเทวดาและมนุษย์ ตลอดแสนกัป
ในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า
ในพุทธุปบาทกาลนี้
ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมหาปชาบดีโคตมี พระมเหสีในพระเจ้าสุทโธทนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์
มีพระเชษฐาชื่อเจ้าชายนันทะ ทั้งสองพระองค์มีฐานะเป็นน้องต่างพระมารดากับเจ้าชายสิทธัตถะ
พระประยูรญาติได้เฉลิมพระนามพระนางว่า รูปนันทา ต่อมาเมื่อทรงเติบใหญ่ขึ้น
ก็ทรงพระสิริโฉมเป็นอย่างยิ่ง จนได้ชื่อว่า ชนบทกัลยาณี
ศากยวงศ์นั้นได้ชื่อว่าเป็นวงศ์ที่มีความบริสุทธิ์แห่งชาติเป็นอย่างยิ่ง
จะไม่ยอมอภิเษกกับราชวงศ์อื่นที่ต่ำกว่าเป็นอันขาด และเมื่อเจ้าชายนันทะโตพอที่จะอภิเษกได้แล้ว
เมื่อในขณะนั้นไม่มีราชธิดาของราชวงศ์ที่เสมอกันแล้วจึงให้ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงรูปนันทา
ผู้เป็นพระกนิษฐภคินีเพื่อรักษาพระวงศ์ให้บริสุทธิ์
วันที่กำหนดให้เป็นวันวิวาหมงคลของเจ้าชายนันทะ และเจ้าหญิงรูปนันทา นั้น
เป็นวันที่ ๓ นับแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์
เพื่อโปรดพระพุทธบิดาและหมู่พระญาติ
ในวันวิวาหมงคลนั้น
พระผู้มีพระภาคได้เสด็จไปในงาน เมื่อไปถึงจึงเสด็จเข้าไปบิณฑบาต
จากนั้นเมื่อจะเสด็จกลับ ได้ทรงประทานบาตรในหัตถ์ของนันทกุมาร
ตรัสอวยพรแล้วเสด็จลุกจากอาสนะ โดยหาได้ทรงรับบาตรจากหัตถ์ของนันทกุมารคืนมาไม่
นันทะพุทธอนุชาออกบวช
ฝ่ายนันทกุมารนั้น
ด้วยความเคารพในพระตถาคต จึงมิอาจทูลว่า “
ขอพระองค์รับบาตรไปเถิด พระเจ้าข้า ”
แต่คิดว่า “
พระศาสดา
คงจักทรงรับบาตรคืนที่หัวบันได ”
แต่เมื่อถึงที่นั้นพระศาสดาก็มิได้ทรงรับ นันทกุมารจึงคิดว่า “
คงจักทรงรับที่ริมเชิงบันได ”
แม้ถึงที่นั้นแล้ว พระศาสดา ก็ไม่ทรงรับ นันทกุมารก็คิดว่า
“
จักทรงรับที่พระลานหลวง ”
แม้ถึงที่นั้นแล้วพระศาสดาก็ไม่ทรงรับ
พระกุมารปรารถนาจะเสด็จกลับ แต่จำเสด็จไปด้วยความไม่เต็มพระทัย
เพราะด้วยความเคารพในพระตถาคต จึงไม่กล้าทูลว่า
“
ขอพระองค์ทรงรับบาตรเถิด ”
ทรงเดินก็นึกเอาว่า “
พระองค์จักทรงรับในที่นี้ พระองค์จักทรงรับในที่นี้
”
ในขณะนั้นพวกนางข้าหลวงของเจ้าหญิงรูปนันทาเห็นอาการนั้นแล้ว จึงบอกแก่เจ้าหญิงว่า “
พระแม่เจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพานันทกุมารเสด็จไปแล้ว
คงจักพรากนันทกุมารจากพระแม่เจ้า ” ฝ่ายพระนางรูปนันทาเมื่อได้ยินดังนั้น
ทั้งที่ยังทรงเกล้าพระเกศาค้างอยู่ ก็รีบเสด็จไปที่พระบัญชร ทูลกับพระกุมารนั้นว่า “
ข้าแต่พระลูกเจ้า ขอพระองค์พึงด่วนเสด็จกลับ
”
คำของนางนั้น
ประหนึ่งตกไปขวางตั้งอยู่ในหทัยของนันทกุมาร
แม้พระศาสดา
ก็ยังไม่ทรงรับบาตรจากหัตถ์ของนันทกุมารนั้นเลย ทรงนำนันทกุมารนั้นไปสู่วิหารแล้วตรัสว่า “
นันทะ
เธออยากบวชไหม ? ”
นันทกุมารนั้น
ด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า จึงไม่กล้าทูลว่า “
จักไม่บวช
”จึงทูลรับว่า
“
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จักบวชพระเจ้าข้า
”พระศาสดารับสั่งว่า
“
ภิกษุทั้งหลาย
ถ้ากระนั้น เธอทั้งหลายจงให้นันทะบวชเถิด ” ต่อมาพระนันทเถระก็ได้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุเป็นพระอรหันต์
ภายหลังพระผู้มีพระภาคได้ทรงแต่งตั้งให้ท่านได้เป็น
เอตทัคคะผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์
พระนางรูปนันทาออกทรงผนวช
ต่อมา
เมื่อพระเจ้าสุทโธทนมหาราชเสด็จปรินิพพานแล้ว และเมื่อพระมหาปชาบดีโคตมีและพระนางพิมพาบวชแล้ว
พระนางก็คิดว่า พระเชษฐภาดาของเราทรงละความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิออกบวชเป็นพระพุทธเจ้าผู้อัครบุคคลในโลก
แม้ราหุลกุมารผู้เป็นพระโอรสของพระองค์ก็บวช เจ้าชายนันทราชภัสดาของเราก็ดี พระมหาปชาบดีโคตมีพระมารดาก็ดี
พระนางพิมพาพระภคินีก็ดี ก็บวชกันหมดแล้ว บัดนี้ตัวเราจักทำอะไรอยู่ในวังเล่า
เราก็ควรจักบวชด้วยเหมือนกัน เธอจึงไปยังสำนักพระมหาปชาบดีโคตมี และทรงผนวช
พระนางไม่เข้าเฝ้าพระศาสดาเพราะเกรงถูกตำหนิ
แต่การบวชของพระนางเป็นบวชด้วยความรักพวกพระญาติ ไม่ได้บวชด้วยศรัทธาฉะนั้น
ถึงบวชแล้วก็ยังหลงใหลด้วยความเจริญแห่งรูป จึงไม่ไปเฝ้าพระศาสดา
ด้วยคิดว่าพระศาสดาทรงตำหนิติเตียนรูป ทรงแสดงโทษในรูปโดยอเนกปริยาย
เมื่อพระศาสดาเห็นรูปของเราซึ่งน่าดู น่าเลื่อมใสอย่างนี้แล้ว จะพึงตรัสโทษในรูป เมื่อถึงวาระที่จะต้องไปรับพระโอวาท
ก็สั่งภิกษุณีรูปอื่นไปแล้วให้นำพระโอวาทมาแสดงแก่พระนาง
พระนางรูปนันทาเถรีเข้าเฝ้าทรงสดับธรรม
ในสมัยนั้น
พวกชาวพระนครสาวัตถี ถวายทานแต่เช้าตรู่ สมาทานอุโบสถแล้วห่มผ้าสะอาด
มีมือถือของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น พอตกเวลาเย็น ก็ประชุมกันฟังธรรมในพระเชตวัน
แม้ภิกษุณีสงฆ์ผู้เกิดฉันทะในพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ก็ย่อมไปวิหารฟังธรรม
ชาวพระนครสาวัตถีเหล่านั้นครั้นฟังธรรมแล้ว เมื่อกลับเข้าไปสู่พระนคร
ก็กล่าวแต่คุณกถาของพระศาสดาเท่านั้นกันอยู่ทั่วไป
พระนางรูปนันทา
ได้สดับคำพรรณนาคุณของพระตถาคตเหล่านั้นจากพวกภิกษุณีและพวกอุบาสิกา จึงทรงดำริว่า
"ชนทั้งหลาย ย่อมกล่าวชมเจ้าพี่ของเรานักหนาทีเดียว แม้ในวันหนึ่ง
พระองค์เมื่อจะตรัสโทษในรูปของเรา จะตรัสได้สักเท่าไร ?
ถ้ากระไร
เราพึงไปกับพวกภิกษุณี แต่จะไม่แสดงตนเลย เฝ้าพระตถาคตฟังธรรมแล้วค่อยกลับมา
พระนางจึงตรัสบอกแก่พวกภิกษุณีว่า "วันนี้ ฉันจักไปสู่ที่ฟังธรรม."
พวกภิกษุณีมีใจยินดีว่า "นานนักหนา การที่พระนางรูปนันทาทรงมีพระประสงค์จะเสด็จไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว
วันนี้พระศาสดา ทรงอาศัยพระนางรูปนันทานี้แล้ว จักทรงแสดงพระธรรมเทศนาอันวิจิตร"
ดังนี้แล้วก็พาพระนางออกไป ตั้งแต่เวลาที่ออกไป
พระนางก็ทรงดำริว่าจะไม่แสดงพระองค์เลย
พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พระนาง
พระศาสดาทรงดำริว่า "วันนี้ รูปนันทาจักมาที่บำรุงของเรา ธรรมเทศนาเช่นไรหนอแล ?
จักเป็นที่สบายของเธอ" ทรงทำความตกลงพระหฤทัยว่า "รูปนันทานั่น หนักในรูป
มีความเยื่อใยในอัตภาพอย่างรุนแรง การบรรเทาความเมาในรูปด้วยรูปนั่นแล
เป็นที่สบายของเธอ ดุจการบ่งหนามด้วยหนามฉะนั้น"
ในเวลาที่พระนางเข้าไปสู่วิหารจึงทรงนิรมิตหญิงมีรูปสวยพริ้งผู้หนึ่ง อายุราว ๑๖ปี
นุ่งผ้าแดง ประดับแล้วด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง ถือพัด
ยืนถวายงานพัดอยู่ในที่ใกล้พระองค์ด้วยกำลังพระฤทธิ์
ก็แล
พระศาสดาและพระนางรูปนันทาเท่านั้น ทรงเห็นรูปหญิงนั้น
พระนางเสด็จเข้าไปวิหารพร้อมกับภิกษุณีทั้งหลาย ทรงยืนข้างหลังพวกภิกษุณี
ถวายบังคมพระศาสดาด้วยเบญจางคประดิษฐ์ นั่งในระหว่างพวกภิกษุณี
ทรงแลดูพระศาสดาตั้งแต่พระบาท ทรงเห็นพระสรีระของพระศาสดาวิจิตรแล้วด้วยพระลักษณะ
รุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะ อันพระรัศมีวาหนึ่งแวดล้อมแล้ว
ทรงแลดูพระพักตร์อันมีสิริดุจพระจันทร์เพ็ญ ได้ทรงเห็นรูปหญิงยืนอยู่ในที่ใกล้แล้ว
พระนางทรงแลดูหญิงนั้นแล้ว ทรงแลดูอัตภาพของตน รู้สึกว่าตนเหมือนนางกา
ซึ่งอยู่ข้างหน้านางพระยาหงส์ทอง
ก็นับแต่เวลาที่พระนางทรงเห็นรูปอันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์นั้น
พระเนตรทั้งสองของพระนางก็วิงเวียน
พระนางมีจิตอันสิริโฉมแห่งสรีรประเทศทั้งหมดดึงดูดไปแล้วว่า "โอ ผมของหญิงนี้ก็งาม โอ
หน้าผากก็งาม" ดังนี้ ได้มีสิเนหาในรูปนั้นอย่างรุนแรง
พระศาสดาทรงทราบความยินดีอย่างสุดซึ้งในรูปนั้นของพระนาง พอเมื่อจะทรงแสดงธรรม
จึงทรงแสดงรูปนั้นให้ล่วงภาวะของผู้มีอายุ ๑๖ ปี มีอายุราว ๒๐ ปี
พระนางรูปนันทาได้ทอดพระเนตรมีจิตเบื่อหน่ายหน่อยหนึ่งว่า "รูปนี้ไม่เหมือนรูปก่อนหนอ
พระศาสดาทรงแสดงความแปรเปลี่ยนของหญิงนั้นโดยลำดับเทียว คือ
เพศหญิงคลอดบุตรครั้งเดียว เพศหญิงกลางคน เพศหญิงแก่
เพศหญิงแก่คร่ำคร่าแล้วเพราะชรา
แม้พระนางก็ทรงเบื่อหน่ายรูปนั้น ในเวลาที่ทรุดโทรมเพราะชราโดยลำดับเหมือนกัน ว่า
"โอ รูปนี้ หายไปแล้วๆ"
ครั้นทรงเห็นรูปนั้นมีฟันหัก ผมหงอก หลังโกง มีซี่โครงขึ้นดุจกลอน
มีไม้เท้ายันข้างหน้า งกงันอยู่ ก็ทรงเบื่อหน่ายเหลือเกิน
ลำดับนั้น
พระศาสดาทรงแสดงรูปหญิงนั้นให้เป็นรูปอันพยาธิครอบงำ ในขณะนั้นเอง
หญิงนั้นทิ้งไม้เท้าและพัดใบตาล ร้องเสียงขรม ล้มลงที่ภาคพื้น
จมลงในอุจจาระและปัสสาวะของตน กลิ้งเกลือกไปมา
พระนางรูปนันทา
ทรงเห็นหญิงนั้นแล้ว ทรงเบื่อหน่ายเต็มที
พระศาสดา
ทรงแสดงมรณะของหญิงนั้นแล้ว
หญิงนั้นกลายเป็นศพพองขึ้นในขณะนั้นเอง
สายแห่งหนองและหมู่หนอนไหลออกจากทวารทั้ง ๙
ฝูงสัตว์มีกาเป็นต้นรุมแย่งกันกินแล้ว
พระนางรูปนันทา
ทรงพิจารณาซากศพนั้นแล้ว ทรงเห็นอัตภาพโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงว่า
"หญิงนี้ถึงความแก่ ถึงความเจ็บ ถึงความตาย ในที่นี้เอง
ความแก่ ความเจ็บและความตาย จักมาถึงแก่อัตภาพแม้นี้อย่างนั้นเหมือนกัน."
และเพราะความที่อัตภาพเป็นสภาพอันพระนางทรงเห็นแล้ว
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงนั่นเอง อัตภาพนั้น จึงเป็นอันทรงเห็นแล้วโดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตาทีเดียว
ลำดับนั้น
ภพทั้งสามปรากฏแก่พระนางดุจถูกไฟเผาลนแล้ว และดุจซากศพอันเขาผูกไว้ที่พระศอ
จิตมุ่งตรงต่อกรรมฐานแล้ว
พระศาสดาทรงทราบว่า พระนางทรงคิดเห็นอัตภาพโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงแล้ว
จึงทรงพิจารณาดูว่า "พระนางจักสามารถทำที่พึ่งแก่ตนได้เองทีเดียวหรือไม่หนอแล
?"
ทรงเห็นว่า
"จักไม่อาจ
การที่พระนางได้ปัจจัยภายนอกเสียก่อน จึงจะเหมาะ" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม
ด้วยอำนาจธรรมเป็นที่สบายแห่งพระนาง ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
"นันทา เธอจงดูกายอันกรรมยกขึ้น อันอาดูรไม่สะอาด เปื่อยเน่า ไหลออกอยู่ข้างบน ไหลออกอยู่ข้างล่าง ที่พาลชนทั้งหลายปรารถนากันนัก;สรีระของเธอนี้ ฉันใด สรีระของหญิงนั่น ก็ฉันนั้น,สรีระของหญิงนั่น ฉันใด สรีระของเธอนี้ ก็ฉันนั้น:เธอจงเห็นธาตุทั้งหลายโดยความเป็นของสูญ อย่ากลับมาสู่โลกนี้อีก เธอคลี่คลายความพอใจในภพเสียแล้ว จักเป็นบุคคลผู้สงบเที่ยวไป."
พระนางนันทาสำเร็จโสดาปัตติผล
ได้ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรารภพระนางนันทาภิกษุณี ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้
ด้วยประการฉะนี้แล พระนางนันทา ทรงส่งญาณไปตามกระแสเทศนา บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว
พระศาสดาทรงแสดงวิปัสสนา
ลำดับนั้น
พระศาสดาเพื่อจะตรัสสุญญตกรรมฐาน
เพื่อต้องการอบรมวิปัสสนาเพื่อมรรคผลทั้งสามยิ่งขึ้นไปแก่พระนาง จึงตรัสว่า
"แน่ะนันทา
ในสรีระนี้ไม่มีสาระแม้มีประมาณน้อยเลย กายนี้มีเนื้อและเลือดฉาบทาไว้
เป็นที่อยู่ของชราเป็นต้น เป็นเพียงกองกระดูกเท่านั้น ดังนี้"
แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า
"สรีระอันกรรมทำให้เป็นนครแห่งกระดูกทั้งหลายฉาบด้วยเนื้อและโลหิต เป็นที่ตั้งลงแห่งชรา มรณะมานะ และมักขะ."
ในกาลจบเทศนา พระนางรูปนันทาเถรีได้บรรลุพระอรหัตผล.พระธรรมเทศนาได้เป็นกถามีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว
ดังนี้แล
ทรงแต่งตั้งเป็นเอตทัคคะผู้ยินดีในฌาน
ภายหลัง
พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาพวก
ภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระนันทเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้เลิศกว่า
ภิกษุณีทั้งหลายผู้ยินดีในฌาน
อ่านต่อ http://www.dharma-gateway.com/bhikunee/pra-nanta.htm
วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
พระกีสาโคตมีเถรี ถือกำเนิดในสกุลคนเข็ญใจในกรุงสาวัตถี บิดามารดาตั้งชื่อให้นางว่า “โคตมี” แต่เพราะความที่นางเป็นผู้มีรูปร่างบอบบาง คนทั่วไปจึงพากันเรียกว่า “กีสาโคตมี” นางได้อยู่ร่วมกับสามีจนมีบุตรหนึ่งคน แต่ไม่นานบุตรของนางก็ถึงแก่ความตาย นางห้ามมิให้คนนำบุตรของนางไปเผา เพราะนางไม่เคยเห็นคนตาย จึงอุ้มร่างบุตรชายที่ตายแล้วนั้นเที่ยวเดินถามตามบ้านเรือนต่างๆ ว่ามียารักษาบุตรของนางบ้างหรือไม่ คนทั้งหลายพากันคิดว่า “นางคงจะเป็นบ้า จึงเที่ยวหายารักษาคนตายให้ฟื้น” อุบาสกผู้มีปัญญาคนหนึ่งเห็นกิริยาของนางแล้วจึงกล่าวกับนางว่า “แม่หนู ฉันเองไม่รู้จักยารักษาลูกของเธอหรอก แต่พระสมณโคดมขณะนี้ประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน พระองค์ท่านรู้จักยาที่จะรักษาลูกของเธอได้”
นางรู้สึกดีใจที่ทราบว่า มีคนสามารถรักษาลูกน้อยของนางให้หายได้ จึงอุ้มลูกน้อยรีบมุ่งตรงไปยังพระวิหารเชตวัน เข้าไปกราบถวายบังคมพระบรมศาสดาแล้วทูลถามหายาที่จะนำมารักษาลูกของนางให้หายได้ พระพุทธองค์ รับสั่งให้นางไปหาเมล็ดพันธุ์ผักกาด ที่ได้จากบ้านที่ไม่เคยมีคนตายมาก่อนเท่านั้น จึงจะสามารถให้เป็นเครื่องปรุงยาได้ ในดวงจิตของนางคิดว่า ของสิ่งนี้หาไม่ยาก นางอุ้มร่างลูกน้อยเข้าไปในหมู่บ้าน ออกปากขอเมล็ดพันธุ์ผักกาดตั้งแต่บ้านหลังแรกเรื่อยไป ปรากฏว่าทุกบ้านมีเมล็ดพันธุ์ผักกาดทั้งนั้น แต่พอถามว่าที่บ้านนี้เคยมีคนตายหรือไม่ เจ้าของบ้านต่างก็ตอบเหมือนกันอีกว่า “ที่บ้านนี้ คนที่ยังเหลืออยู่นี้น้อยกว่าคนที่ตายไปแล้ว” เมื่อทุกบ้านต่างตอบกันอย่างนี้ นางจึงเข้าใจว่า “ความตายนั้นเป็นอย่างไรและคนที่ตาย ก็มิใช่ว่าจะตายเฉพาะลูกของเธอเท่านั้น ทุกคนเกิดมาก็ต้องตายเหมือนกันหมด” นางจึงวางร่างลูกน้อยไว้ในป่าแล้ว กลับไปกราบทูลพระบรมศาสดาว่า “ไม่สามารถจะหาเมล็ดพันธุ์กาดจากบ้านเรือนที่ไม่เคยมีคนตายได้”
พระพุทธองค์ ได้ทรงสดับคำกราบทูลของนางแล้วตรัสว่า “ โคตมี เธอเข้าใจว่าลูกของเธอเท่านั้นหรือที่ตาย อันความตายนั้นเป็นของธรรมดาที่มีคู่กับสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลก เพราะว่ามัจจุราชย่อมฉุดคร่าสัตว์ทั้งหมด ผู้มีอัธยาศัยเต็มเปี่ยมไปด้วยกิเลสตัณหา ให้ลงไปในมหาสมุทรคือ อบายภูมิ อันเป็นเสมือนว่าห้วงน้ำใหญ่ ฉะนั้น ” นางได้ฟังพระดำรัสของพระบรมศาสดาจบลง ก็ได้บรรลุผลดำรงตนอยู่ในพระโสดาบันแล้วกราบทูลขอบรรพชา พระบรมศาสดารับสั่งให้ไปบรรพชาในสำนักของภิกษุณีสงฆ์ นางบวชแล้วได้นามว่า “ กีสาโคตมีเถรี ”
วันหนึ่งพระเถรีได้ไปทำความสะอาดโรงอุโบสถ เห็นแสงประทีปที่จุดอยู่ลุกโพลงขึ้นแล้วหรี่ลงสลับกันไป นางจึงถือเอาดวงประทีปนั้นเป็นอารมณ์ กรรมฐานว่า “สัตว์โลกก็เหมือนกับแสงประทีปนี้ มีเกิดขึ้นและดับไป แต่ผู้ถึงพระนิพพานไม่เป็นอย่างนั้น”
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ภายในพระคันธกุฎิ ทรงทราบด้วยพระญาณว่านางกำลังยึดเอาเปลวดวงประทีปเป็นอารมณ์กรรมฐานอยู่นั้น จึงทรงแผ่พระรัศมีไปปรากฏประหนึ่งว่าพระองค์ประทับนั่งตรงหน้าของนางแล้วตรัสว่า:- “อย่างนั้นแหละโคตมี สัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นและดับไป เหมือนเปลวดวงประทีปนี้ แต่ผู้ถึงพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่ปรากฏอย่างนั้น ความเป็นอยู่แม้เพียงชั่วขณะเดียวของผู้เห็นพระนิพพาน ย่อมประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นพระนิพพานนั้น” เมื่อสิ้นสุดพระพุทธดำรัส นางก็ได้บรรลุพระอรหัตผล ดำรงตนเป็นพระเถรีผู้เคร่งครัดในการใช้สอยบริหาร ยินดีเฉพาะผ้าไตรจีวรที่มีสีปอนๆ และเศร้าหมอง เที่ยวไปทุกหนทุกแห่ง ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดา จึงได้ประทานแต่งตั้งพระเถรีนี้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
วันหนึ่งพระเถรีได้ไปทำความสะอาดโรงอุโบสถ เห็นแสงประทีปที่จุดอยู่ลุกโพลงขึ้นแล้วหรี่ลงสลับกันไป นางจึงถือเอาดวงประทีปนั้นเป็นอารมณ์ กรรมฐานว่า “สัตว์โลกก็เหมือนกับแสงประทีปนี้ มีเกิดขึ้นและดับไป แต่ผู้ถึงพระนิพพานไม่เป็นอย่างนั้น”
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ภายในพระคันธกุฎิ ทรงทราบด้วยพระญาณว่านางกำลังยึดเอาเปลวดวงประทีปเป็นอารมณ์กรรมฐานอยู่นั้น จึงทรงแผ่พระรัศมีไปปรากฏประหนึ่งว่าพระองค์ประทับนั่งตรงหน้าของนางแล้วตรัสว่า:- “อย่างนั้นแหละโคตมี สัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นและดับไป เหมือนเปลวดวงประทีปนี้ แต่ผู้ถึงพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่ปรากฏอย่างนั้น ความเป็นอยู่แม้เพียงชั่วขณะเดียวของผู้เห็นพระนิพพาน ย่อมประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นพระนิพพานนั้น” เมื่อสิ้นสุดพระพุทธดำรัส นางก็ได้บรรลุพระอรหัตผล ดำรงตนเป็นพระเถรีผู้เคร่งครัดในการใช้สอยบริหาร ยินดีเฉพาะผ้าไตรจีวรที่มีสีปอนๆ และเศร้าหมอง เที่ยวไปทุกหนทุกแห่ง ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดา จึงได้ประทานแต่งตั้งพระเถรีนี้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
ดับขันธปรินิพพาน
ดับขันธปรินิพพาน
ทูลขอบรรพชาในพระพุทธศาสนา ได้บรรลุพระอรหัตผลในราตรีนั้น นับเป็นพุทธสาวกองค์สุดท้ายที่ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทันพระชนม์ชีพของพระบรมศาสดา
ประทานปัจฉิมโอวาท
เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรดสุภัททปริพาชกแล้ว พระพุทธองค์จึงตรัสแก่พระอานนท์ว่าให้ภิกษุทั้งหลายลงพรหมทัณฑ์ต่อพระฉันนะ อดีตมหาดเล็กผู้ถือว่าตนมีความสำคัญกว่าผู้ใด จึงเป็นผู้ว่ายากสอนยาก ไม่ยอมฟังคำของพระเถระอื่นๆ การลงพรหมทัณฑ์ คือ ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงให้โอวาท ไม่พึงสั่งสอนไม่พึงเจรจาคำใด ๆ ด้วยทั้งสิ้น ภายหลังพระฉันนะจึงยอมสำนึกตัวและในที่สุดได้
ปฏิบัติธรรมจนบรรลุพระอรหัตผล ต่อมาพระพุทธองค์ได้ประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ไม่ควรคิดว่าพระศาสดาของเราปรินิพพานแล้ว พระศาสดาของเราไม่มีด้วยแท้ที่จริง ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่ตถาคตแสดงและบัญญัติไว้ จะเป็นศาสดาแทนตถาคต และได้ประทานปัจฉิมโอวาทว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ ตถาคตขอเตือน เธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย เสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด ภิกษุทั้งหลาย สติ เมื่อเกิดขึ้นก็รู้ว่า ธรรมเหล่านี้มีประโยชน์ ธรรมเหล่านี้ ไม่มีประโยชน์ ธรรมเหล่านี้มีอุปการะ ธรรมเหล่านี้ไม่มีอุปการะ ลำดับนั้น พระโยคาวจรก็กำจัดธรรมอันไม่มีประโยชน์เสีย ถือเอาธรรมที่มีประโยชน์ ละธรรมที่ไม่มีอุปการะเสียถือเอาแต่ธรรมที่มีอุปการะ ดังนี้
วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
มงคลที่ 11 บำรุงบิดามารดา
คนที่หา ได้ยาก มากไฉน
เพราะว่าใน โลกนี้ มีเพียงสอง
คือพ่อแม่ เกิดเกล้า เหล่าลูกต้อง
ตอบสนอง พระคุณ ได้บุญแรง
คุณธรรมของลูก
เมื่อพ่อแม่มีพระคุณมากมายปานนี้ ลูกจึงควรมีคุณธรรมต่อท่าน คุณธรรมของลูกเริ่มที่รู้จักคุณพ่อแม่คือรู้ว่าท่านดีต่อเราอย่างไรสูงขึ้น ไปอีก คือตอบแทนคุณท่าน ในทางพระพุทธ ศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสบรรยาย คุณธรรมของลูกไว้อย่างสั้นๆ แต่จับความไว้ได้อย่างครบถ้วน คือคำว่า กตัญู กตเวที คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นลูกรวมอยู่ใน 2 คำนี้
เพราะว่าใน โลกนี้ มีเพียงสอง
คือพ่อแม่ เกิดเกล้า เหล่าลูกต้อง
ตอบสนอง พระคุณ ได้บุญแรง
ต้นไม้ที่ได้รับการดูแลให้น้ำให้ปุ๋ย ไปบำรุงลำต้นจนสมบูรณ์
เมื่อถึงเวลาแล้ว ย่อมออกดอกออกผลให้แก่เจ้าของฉันใด
คนที่ได้รับการเลี้ยงดูจนเติบใหญ่
เมื่อมีโอกาสย่อมตอบแทนคุณพ่อแม่ และผู้มีอุปการคุณ ฉันนั้น
ทองคำแท้หรือไม่ โดนไฟก็รู้
คนดีแท้หรือไม่ ให้ดูตรงที่เลี้ยงพ่อแม่
ถ้าดีจริงต้องเลี้ยงพ่อแม่ ถ้าไม่เลี้ยงแสดงว่าไม่ดีจริง
เป็นพวกทองชุบทองเก๊
เมื่อถึงเวลาแล้ว ย่อมออกดอกออกผลให้แก่เจ้าของฉันใด
คนที่ได้รับการเลี้ยงดูจนเติบใหญ่
เมื่อมีโอกาสย่อมตอบแทนคุณพ่อแม่ และผู้มีอุปการคุณ ฉันนั้น
ทองคำแท้หรือไม่ โดนไฟก็รู้
คนดีแท้หรือไม่ ให้ดูตรงที่เลี้ยงพ่อแม่
ถ้าดีจริงต้องเลี้ยงพ่อแม่ ถ้าไม่เลี้ยงแสดงว่าไม่ดีจริง
เป็นพวกทองชุบทองเก๊
พระคุณของพ่อแม่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอุปมาว่า ถ้าบุตรจะพึงวางบิดามารดาไว้บนบ่าทั้งสองของตนประคับประคองท่านอยู่บนบ่า นั้น ป้อนข้าวป้อนน้ำและให้ท่านถ่ายอุจจาระปัสาวะบนบ่านั้น แม้บุตรจะมีอายุถึง 100 ปี และปรนนิบัติท่านไปจนตลอดชีวิต ก็ยังนับว่าตอบแทนพระคุณท่านไม่หมด
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอุปมาว่า ถ้าบุตรจะพึงวางบิดามารดาไว้บนบ่าทั้งสองของตนประคับประคองท่านอยู่บนบ่า นั้น ป้อนข้าวป้อนน้ำและให้ท่านถ่ายอุจจาระปัสาวะบนบ่านั้น แม้บุตรจะมีอายุถึง 100 ปี และปรนนิบัติท่านไปจนตลอดชีวิต ก็ยังนับว่าตอบแทนพระคุณท่านไม่หมด
ยังมีผู้อุปมาไว้ว่า หากเราใช้ท้องฟ้าแทนกระดาษ ยอดเขาพระสุเมรุ แทนปากกา น้ำในมหาสมุทร
แทนหมึก เขียนบรรยายคุณของพ่อแม่ จนท้องฟ้าเต็มไปด้วยอักษร
ภูเขาสึกกร่อนจนหมด น้ำในมหาสมุทรเหือดแห้ง ก็ยังบรรยายคุณของพ่อแม่ไม่หมด
บิดามารดาเป็นผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ของบุตร โดยสรุปคือ
1. เป็นต้นแบบทางกาย แบบเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำให้ของทั้งหลาย ในโลกมีค่าสูงขึ้น ตัวอย่างเช่นก้อนดินเหนียวธรรมดา ถ้าหากนำมาใส่แบบพิมพ์แล้วพิมพ์เป็นตุ๊กตา ก็ทำให้ดินก้อนนั้นมีค่าขึ้นมาเป็น เครื่องประดับบ้านเรือนได้ ดินเหนียวก้อนเดียวกันนี้ หากเป็นแบบที่ดีกว่าขึ้นมาอีก เช่นแบบเป็นพระพุทธรูปก็จะเห็นได้ว่าคุณค่าของดินเหนียวก้อนนี้ ทรงคุณค่ามากยิ่งขึ้น ผู้คนได้กราบไหว้บูชา จะเห็นได้ว่า คุณค่าของดินเหนียวก้อนนี้ขึ้นอยู่กับแบบที่พิมพ์นั่นเอง
1. เป็นต้นแบบทางกาย แบบเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำให้ของทั้งหลาย ในโลกมีค่าสูงขึ้น ตัวอย่างเช่นก้อนดินเหนียวธรรมดา ถ้าหากนำมาใส่แบบพิมพ์แล้วพิมพ์เป็นตุ๊กตา ก็ทำให้ดินก้อนนั้นมีค่าขึ้นมาเป็น เครื่องประดับบ้านเรือนได้ ดินเหนียวก้อนเดียวกันนี้ หากเป็นแบบที่ดีกว่าขึ้นมาอีก เช่นแบบเป็นพระพุทธรูปก็จะเห็นได้ว่าคุณค่าของดินเหนียวก้อนนี้ ทรงคุณค่ามากยิ่งขึ้น ผู้คนได้กราบไหว้บูชา จะเห็นได้ว่า คุณค่าของดินเหนียวก้อนนี้ขึ้นอยู่กับแบบที่พิมพ์นั่นเอง
ในทำนองเดียวกัน การเกิดของสัตว์ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ฯลฯ
แม้จะมีปัญญาติดตัวมามากสักปานใดก็ไม่สามารถทำความดีได้เต็มที่
โชคดีที่เราได้แบบเป็นคน ซึ่งเป็นโครงร่างที่
ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลายเหมาะในการ ทำความดีทุกประการ
เราจึงสามารถใช้ความรู้ความสามารถประกอบคุณความดีได้เต็มที่พระคุณของพ่อแม่
ในการเป็นต้นแบบทางกายให้เรา ก็นับว่ามีมากเหลือหลายแล้ว ยิ่งท่านอบรมเลี้ยงดูเรามาเป็นต้นแบบทางใจให้ด้วย ก็ยิ่งมีพระคุณมากเป็นอเนกอนันต์
2. เป็นต้นแบบทางใจ ให้ความอุปการะเลี้ยงดู ฟูมฟัก ทะนุถนอม อบรมสั่งสอน ปลูกฝังกิริยามารยาท ให้ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมแก่ลูก
สมญานามของพ่อแม่
สมญานามของพ่อแม่นั้น กล่าวกันว่าท่านเป็นทั้งพรหมของลูก เทวดาคนแรกของลูก ครูคนแรกของลูก และเป็นพระอรหันต์ของลูก ซึ่งอธิบายได้ดังนี้
สมญานามของพ่อแม่นั้น กล่าวกันว่าท่านเป็นทั้งพรหมของลูก เทวดาคนแรกของลูก ครูคนแรกของลูก และเป็นพระอรหันต์ของลูก ซึ่งอธิบายได้ดังนี้
พ่อแม่เป็นพรหมของลูก เพราะเหตุที่มีพรหมวิหารธรรม 4 ประการ ได้แก่
1. มีเมตตา คือ มีความปรารถนาดีต่อลูกไม่มีที่สิ้นสุด
2. มีกรุณา คือ หวั่นใจในความทุกข์ของลูก และคอยช่วยเหลือเสมอ ไม่ทอดทิ้ง
3. มีมุทิตา คือ เมื่อลูกมีความสุข บาย ก็มีความปลาบปลื้มยินดีด้วยความจริงใจ
4. มีอุเบกขา คือ เมื่อลูกมีครอบครัวสามารถเลี้ยงตนเองได้แล้ว ก็ไม่วุ่นวายกับชีวิตครอบครัวลูกจนเกินงาม และหากลูกผิดพลาดก็ไม่ซ้ำเติม แต่กลับคอยเป็นที่ปรึกษาให้เมื่อลูกต้องการ
1. มีเมตตา คือ มีความปรารถนาดีต่อลูกไม่มีที่สิ้นสุด
2. มีกรุณา คือ หวั่นใจในความทุกข์ของลูก และคอยช่วยเหลือเสมอ ไม่ทอดทิ้ง
3. มีมุทิตา คือ เมื่อลูกมีความสุข บาย ก็มีความปลาบปลื้มยินดีด้วยความจริงใจ
4. มีอุเบกขา คือ เมื่อลูกมีครอบครัวสามารถเลี้ยงตนเองได้แล้ว ก็ไม่วุ่นวายกับชีวิตครอบครัวลูกจนเกินงาม และหากลูกผิดพลาดก็ไม่ซ้ำเติม แต่กลับคอยเป็นที่ปรึกษาให้เมื่อลูกต้องการ
พ่อแม่เป็นเทวดาของลูก เพราะคอยปกป้องคุ้มกันภัยเลี้ยงดูลูกมาก่อนผู้มีความปรารถนาดีคนอื่นๆ
พ่อแม่เป็นครูคนแรกของลูก เพราะสั่ง อนอบรมทั้งคำพูดและกิริยามารยาทให้ลูกก่อนคนอื่นๆ
พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก เพราะมีคุณธรรม 4 ประการ ได้แก่
1. เป็นผู้มีอุปการะมากแก่ลูก ท่านได้ทำภารกิจอันทำได้แสนยาก ได้แก่ การอุปการะเลี้ยงดูซึ่งยากที่จะหาคนอื่น ทำแก่เราได้อย่างท่าน
2. มีพระเดชพระคุณมาก ปกป้องอันตราย ให้ความอบอุ่นแก่ลูกมาก่อน
3. เป็นเนื้อนาบุญของลูก มีความบริสุทธิ์ใจต่อลูกอย่างแท้จริง เป็นผู้ที่ลูกควรทำบุญต่อตัวท่าน
4. เป็นอาหุไนยบุคคล เป็นผู้ควรแก่การรับของคำนับ และการนมั การของลูก
พ่อแม่เป็นครูคนแรกของลูก เพราะสั่ง อนอบรมทั้งคำพูดและกิริยามารยาทให้ลูกก่อนคนอื่นๆ
พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก เพราะมีคุณธรรม 4 ประการ ได้แก่
1. เป็นผู้มีอุปการะมากแก่ลูก ท่านได้ทำภารกิจอันทำได้แสนยาก ได้แก่ การอุปการะเลี้ยงดูซึ่งยากที่จะหาคนอื่น ทำแก่เราได้อย่างท่าน
2. มีพระเดชพระคุณมาก ปกป้องอันตราย ให้ความอบอุ่นแก่ลูกมาก่อน
3. เป็นเนื้อนาบุญของลูก มีความบริสุทธิ์ใจต่อลูกอย่างแท้จริง เป็นผู้ที่ลูกควรทำบุญต่อตัวท่าน
4. เป็นอาหุไนยบุคคล เป็นผู้ควรแก่การรับของคำนับ และการนมั การของลูก
คุณธรรมของลูก
เมื่อพ่อแม่มีพระคุณมากมายปานนี้ ลูกจึงควรมีคุณธรรมต่อท่าน คุณธรรมของลูกเริ่มที่รู้จักคุณพ่อแม่คือรู้ว่าท่านดีต่อเราอย่างไรสูงขึ้น ไปอีก คือตอบแทนคุณท่าน ในทางพระพุทธ ศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสบรรยาย คุณธรรมของลูกไว้อย่างสั้นๆ แต่จับความไว้ได้อย่างครบถ้วน คือคำว่า กตัญู กตเวที คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นลูกรวมอยู่ใน 2 คำนี้
กตัญู
หมายถึง เห็นคุณค่าของท่าน คือเห็นด้วยใจด้วยปัญญา
ว่าท่านเป็นผู้มีพระคุณต่อเราอย่างแท้จริง
ไม่ใช่สักแต่ว่าปากท่องพระคุณพ่อแม่ปาวๆ ไปเท่านั้น
คุณของพ่อแม่ดูได้จากอุปการะ คือประโยชน์ที่ท่านทำแก่เรามีอะไรบ้าง ที่แตกต่างจากคนอื่นตามธรรมดาของคนทั่วๆไป เมื่อจะอุปการะใครเขาต้องเห็นทางได้ เช่น เห็นหลักทรัพย์ หรือดูนิสัยใจคอต่อเมื่อแน่ใจแล้วว่าอุปการคุณ ของเขาจะไม่สูญเปล่า จึงลงมือช่วยเหลือ แต่ที่พ่อแม่อุปการะเรานั้นเป็นการ อุปการะโดยบริสุทธิ์ใจจริงๆ ไม่ได้มองถึงหลักประกันใดๆ เลย เราเองก็เกิดมาตัวเปล่าไม่มีหลักทรัพย์แม้แต่เข็ม เล่มเดียว ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอวัยวะร่างกายจะใช้ได้ครบถ้วนหรือไม่ ยิ่งนิสัยใจคอแล้วยิ่งรู้ไม่ได้เอาทีเดียว โตขึ้น มาจะเป็นอย่างไร จะเป็นคนอกตัญูหรือไม่ไม่รู้ทั้งนั้น หนังสือสัญญาการรับปากสักคำเดียวระหว่างเรากับท่านก็ไม่มี แต่ท่านทั้งสองก็ได้โถมตัวเข้าช่วยเหลือเราจนสุดชีวิต ที่ยากจนก็ถึงกับกู้หนี้ยืมสินคนอื่นมาช่วย เรื่องเหล่านี้ต้องคิดดูด้วยเหตุผล อย่าสักแต่คิดด้วยอารมณ์เท่านั้นการพิจารณาให้เห็นคุณของพ่อแม่ ด้วยใจอย่างนี้เรียกว่า กตัญู เป็นคุณธรรมเบื้องต้น ของผู้เป็นลูกยิ่งพิจารณาเห็นคุณท่านมากเท่าไร แสดงว่าใจของเราเริ่มใสและสว่างมากขึ้นเท่านั้น
คุณของพ่อแม่ดูได้จากอุปการะ คือประโยชน์ที่ท่านทำแก่เรามีอะไรบ้าง ที่แตกต่างจากคนอื่นตามธรรมดาของคนทั่วๆไป เมื่อจะอุปการะใครเขาต้องเห็นทางได้ เช่น เห็นหลักทรัพย์ หรือดูนิสัยใจคอต่อเมื่อแน่ใจแล้วว่าอุปการคุณ ของเขาจะไม่สูญเปล่า จึงลงมือช่วยเหลือ แต่ที่พ่อแม่อุปการะเรานั้นเป็นการ อุปการะโดยบริสุทธิ์ใจจริงๆ ไม่ได้มองถึงหลักประกันใดๆ เลย เราเองก็เกิดมาตัวเปล่าไม่มีหลักทรัพย์แม้แต่เข็ม เล่มเดียว ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอวัยวะร่างกายจะใช้ได้ครบถ้วนหรือไม่ ยิ่งนิสัยใจคอแล้วยิ่งรู้ไม่ได้เอาทีเดียว โตขึ้น มาจะเป็นอย่างไร จะเป็นคนอกตัญูหรือไม่ไม่รู้ทั้งนั้น หนังสือสัญญาการรับปากสักคำเดียวระหว่างเรากับท่านก็ไม่มี แต่ท่านทั้งสองก็ได้โถมตัวเข้าช่วยเหลือเราจนสุดชีวิต ที่ยากจนก็ถึงกับกู้หนี้ยืมสินคนอื่นมาช่วย เรื่องเหล่านี้ต้องคิดดูด้วยเหตุผล อย่าสักแต่คิดด้วยอารมณ์เท่านั้นการพิจารณาให้เห็นคุณของพ่อแม่ ด้วยใจอย่างนี้เรียกว่า กตัญู เป็นคุณธรรมเบื้องต้น ของผู้เป็นลูกยิ่งพิจารณาเห็นคุณท่านมากเท่าไร แสดงว่าใจของเราเริ่มใสและสว่างมากขึ้นเท่านั้น
กตเวที หมายถึง การทดแทนพระคุณของท่าน ซึ่งมีงานที่ต้องทำ 2 ประการ คือ
1. ประกาศคุณท่าน
2. ตอบแทนคุณท่าน
การประกาศคุณท่าน หมายถึง การทำให้ผู้อื่นรู้ว่าพ่อแม่มีคุณแก่เราอย่างไรบ้าง มากน้อยเพียงใดเรื่องนี้มีคนคิดทำอยู่มากเหมือนกัน แต่ส่วนมากไปทำตอนงานศพ คือเขียนประวัติ รรเสริญคุณพ่อแม่ในหนังสือแจก การกระทำเช่นนี้ก็ถูก แต่ถูกเพียงเปลือกนอกผิวเผินนัก ถ้าเป็นการกินผลไม้ก็แค่เคี้ยวเปลือกเท่านั้น ยังมีทำเลที่จะประกาศคุณพ่อแม่ที่สำคัญกว่านี้ คือที่ตัวเรานี่เอง
1. ประกาศคุณท่าน
2. ตอบแทนคุณท่าน
การประกาศคุณท่าน หมายถึง การทำให้ผู้อื่นรู้ว่าพ่อแม่มีคุณแก่เราอย่างไรบ้าง มากน้อยเพียงใดเรื่องนี้มีคนคิดทำอยู่มากเหมือนกัน แต่ส่วนมากไปทำตอนงานศพ คือเขียนประวัติ รรเสริญคุณพ่อแม่ในหนังสือแจก การกระทำเช่นนี้ก็ถูก แต่ถูกเพียงเปลือกนอกผิวเผินนัก ถ้าเป็นการกินผลไม้ก็แค่เคี้ยวเปลือกเท่านั้น ยังมีทำเลที่จะประกาศคุณพ่อแม่ที่สำคัญกว่านี้ คือที่ตัวเรานี่เอง
คนเราทุกคนคือตัวแทนของพ่อแม่ตนทั้งนั้น เลือดก็แบ่งมาจากท่าน
เนื้อก็แบ่งมาจากท่าน ตลอดจนนิสัยใจคอก็ได้รับการอบรมถ่ายทอดมาจากท่าน
ความประพฤติของตัวเรานี่แหละ
จะเป็นเครื่องประกาศคุณพ่อแม่อย่างโจ่งแจ้งที่สุด ไม่ใช่อยู่ที่หนังสือแจก
ไม่ใช่อยู่ที่หีบศพบนเชิงตะกอน
แต่อยู่ที่ตัวเรานี่เองหากพิมพ์ข้อความไว้ในหนังสือแจกว่า
คุณพ่อคุณแม่เป็นคนตั้งอยู่ในศีลในธรรม แต่ตัวเราเองประพฤติสำมะเลเทเมา
โกงเงินหลวงทุกครั้งที่มีโอกาสศีลข้อเดียวก็ไม่สนใจรักษา
ก็ผิดที่ไปสดุดีคุณพ่อแม่ว่าเป็นคนดีุภาพเรียบร้อย แต่ตัวเรา
ผู้เป็นลูกกลับประพฤติตัวเป็นนักเลงอันธพาล
อย่างนี้คุณค่าของการสรรเสริญพ่อแม่ก็ลดน้ำหนักลง
กลายเป็นว่ามอบหน้าที่ในการกตเวทีประกาศคุณพ่อแม่ให้หนังสือทำแทน
ให้กระดาษให้เครื่องพิมพ์ ให้ช่าง เรียงพิมพ์ แสดงกตเวทีแทน
แล้วตัวเรากลับประจานพ่อแม่ของตัวเอง อย่างน้อยที่สุดก็ประจานแก่ชาวบ้านว่า
พ่อแม่ของเราเลี้ยงลูกไม่เป็นประสา
พ่อแม่ของใครใครก็รัก เมื่อรักท่านก็ควรประกาศคุณความดีของท่าน ประกาศด้วยความดีของตัวเราเองตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ยิ่งท่านยังมีชีวิตอยู่ การประกาศคุณของเราจะทำให้ท่านมีความสุขใจอย่างยิ่ง่วนใครจะประพันธ์ รรเสริญคุณพ่อแม่พิมพ์แจกเวลาท่านตายแล้ว นั่นเป็นประเด็นเบ็ดเตล็ดจะทำก็ได้ไม่ทำก็ไม่เสียหายอะไร
ไม่ว่าเราจะตั้งใจประกาศคุณท่านหรือไม่ ความประพฤติของเราก็เป็นตัวประกาศคุณท่านหรือประจานท่านอยู่ตลอดเวลา ลองพิจารณาดูว่า เราจะประกาศคุณพ่อแม่ของเราด้วยเกียรติยศชื่อเสียง หรือจะใจดำถึงกับประจานผู้บังเกิดเกล้า ด้วยการทำตัวเป็นพาลเกเรและประพฤติต่ำทราม
การตอบแทนคุณท่าน แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
1. เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็ช่วยเหลือกิจการงานของท่าน เลี้ยงดูท่านตอบเมื่อยามท่านชรา ดูแลปรนนิบัติการกินอยู่ของท่านให้สะดวก บาย และเอาใจใส่ช่วยเหลือเมื่อท่านเจ็บป่วย
2. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็จัดพิธีศพให้ท่าน และทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่านอย่างสม่ำเสมอแม้ว่าเราจะตอบแทนพระคุณท่านถึง เพียงนี้แล้ว ยังนับว่าเล็กน้อยมาก เมื่อเทียบกับพระคุณอันยิ่งใหญ่ที่ท่านมีต่อเรา ผู้ที่มีความกตัญูกตเวทีต้องการจะ นองพระคุณท่านให้ได้ทั้งหมด พึงกระทำดังนี้
1. ถ้าท่านยังไม่มีศรัทธาในพระพุทธศา นา ก็พยายามชักนำให้ท่านตั้งอยู่ในศรัทธาให้ได้
2. ถ้าท่านยังไม่ถึงพร้อมด้วยการให้ทาน ก็พยายามชักนำให้ท่านยินดีในการบริจาคทานให้ได้
3. ถ้าท่านยังไม่มีศีล ก็พยายามชักนำให้ท่านรักษาศีลให้ได้
4. ถ้าท่านยังไม่ทำสมาธิภาวนา ก็พยายามชักนำให้ท่านทำสมาธิภาวนาให้ได้
พ่อแม่ของใครใครก็รัก เมื่อรักท่านก็ควรประกาศคุณความดีของท่าน ประกาศด้วยความดีของตัวเราเองตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ยิ่งท่านยังมีชีวิตอยู่ การประกาศคุณของเราจะทำให้ท่านมีความสุขใจอย่างยิ่ง่วนใครจะประพันธ์ รรเสริญคุณพ่อแม่พิมพ์แจกเวลาท่านตายแล้ว นั่นเป็นประเด็นเบ็ดเตล็ดจะทำก็ได้ไม่ทำก็ไม่เสียหายอะไร
ไม่ว่าเราจะตั้งใจประกาศคุณท่านหรือไม่ ความประพฤติของเราก็เป็นตัวประกาศคุณท่านหรือประจานท่านอยู่ตลอดเวลา ลองพิจารณาดูว่า เราจะประกาศคุณพ่อแม่ของเราด้วยเกียรติยศชื่อเสียง หรือจะใจดำถึงกับประจานผู้บังเกิดเกล้า ด้วยการทำตัวเป็นพาลเกเรและประพฤติต่ำทราม
การตอบแทนคุณท่าน แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
1. เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็ช่วยเหลือกิจการงานของท่าน เลี้ยงดูท่านตอบเมื่อยามท่านชรา ดูแลปรนนิบัติการกินอยู่ของท่านให้สะดวก บาย และเอาใจใส่ช่วยเหลือเมื่อท่านเจ็บป่วย
2. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็จัดพิธีศพให้ท่าน และทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่านอย่างสม่ำเสมอแม้ว่าเราจะตอบแทนพระคุณท่านถึง เพียงนี้แล้ว ยังนับว่าเล็กน้อยมาก เมื่อเทียบกับพระคุณอันยิ่งใหญ่ที่ท่านมีต่อเรา ผู้ที่มีความกตัญูกตเวทีต้องการจะ นองพระคุณท่านให้ได้ทั้งหมด พึงกระทำดังนี้
1. ถ้าท่านยังไม่มีศรัทธาในพระพุทธศา นา ก็พยายามชักนำให้ท่านตั้งอยู่ในศรัทธาให้ได้
2. ถ้าท่านยังไม่ถึงพร้อมด้วยการให้ทาน ก็พยายามชักนำให้ท่านยินดีในการบริจาคทานให้ได้
3. ถ้าท่านยังไม่มีศีล ก็พยายามชักนำให้ท่านรักษาศีลให้ได้
4. ถ้าท่านยังไม่ทำสมาธิภาวนา ก็พยายามชักนำให้ท่านทำสมาธิภาวนาให้ได้
เพราะว่าการตั้งอยู่ในศรัทธา การให้ทาน การรักษาศีล
การทำสมาธิภาวนาเป็นประโยชน์โดยตรงและเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ผู้เป็น
บิดามารดาผู้ปฏิบัติ เองทั้งในภพนี้ภพหน้า และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง คือ เป็นหนทางไปสู่นิพพาน
อานิสงส์การบำรุงบิดามารดา
1. ทำให้เป็นคนมีความอดทน
2. ทำให้เป็นคนมีสติรอบคอบ
3. ทำให้เป็นคนมีเหตุผล
4. ทำให้พ้นทุกข์พ้นภัย
5. ทำให้ได้ลาภโดยง่าย
6. ทำให้แคล้วคลาดภัยในยามคับขัน
7. ทำให้เทวดาลงรักษา
8. ทำให้ได้รับการยกย่อง รรเสริญ
9. ทำให้มีความเจริญก้าวหน้า
10. ถ้ามีลูกก็จะได้ลูกที่ดี
11. ทำให้มีความสุข
12. ทำให้เป็นแบบอย่างอันดีแก่อนุชนรุ่นหลัง
ฯลฯ
1. ทำให้เป็นคนมีความอดทน
2. ทำให้เป็นคนมีสติรอบคอบ
3. ทำให้เป็นคนมีเหตุผล
4. ทำให้พ้นทุกข์พ้นภัย
5. ทำให้ได้ลาภโดยง่าย
6. ทำให้แคล้วคลาดภัยในยามคับขัน
7. ทำให้เทวดาลงรักษา
8. ทำให้ได้รับการยกย่อง รรเสริญ
9. ทำให้มีความเจริญก้าวหน้า
10. ถ้ามีลูกก็จะได้ลูกที่ดี
11. ทำให้มีความสุข
12. ทำให้เป็นแบบอย่างอันดีแก่อนุชนรุ่นหลัง
ฯลฯ
เพราะการปรนนิบัติในมารดาบิดานั้นแล บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้นี่เอง เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ขุ. ชา. ตฺตติ 28/162/67
อ่านต่อ http://www.kalyanamitra.org
ไม่มีอะไรเป็น "ของฉัน" มันก็ไม่ทุกข์
อากาศตอนนี้ญาติโยมก็บ่นว่าร้อนๆไปตามๆกัน ซึ่งความจริงมันก็ร้อนนั่นแหละ เหงื่อไหลไคลย้อยตลอดวัน แต่ว่าความร้อนนี่มันก็ไม่เที่ยง คือไม่เท่าใดก็หมดร้อน แล้วก็ถึงหน้าฝนต่อไป เพราะอันนี้มันเป็นเรื่องของธรรมชาติของดินฟ้าอากาศ เราจะไปเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เราก็ต้องทนอยู่กันไปตามเรื่องตามราวจนกว่าจะหมดเรื่องนั้นไป การที่จะอยู่ได้ตามปกตินั้น จะต้องหมุนจิตใจของเราให้เข้ากับสิ่งที่เกิดอยู่เป็นอยู่ คือให้พอใจแค่นั้นเอง ถ้าพอใจแล้วมันก็ไม่มีอะไร ถ้าไม่พอใจแล้วก็เกิดความเดือดร้อน
เคยพบพระองค์หนึ่งนั่งอยู่ในห้องเหงื่อท่วมตัว อาตมาก็ไปถามว่าไม่ร้อนหรือ ท่านก็บอกว่ามันเรื่องธรรมดา ท่านตอบว่าอย่างนั้น แล้วท่านนั่งทำงานไปตามปกติ ไม่รู้สึกว่ากระวนกระวาย จิตใจมันเป็นปกติ เหงื่อมันออกมาเป็นเรื่องของร่างกาย แต่ว่าใจนั้นไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง นั่งทำงานได้ปกติตลอดเวลา อันนี้แสดงว่าท่านผู้นั้นรู้จักหมุนจิตใจต้อนรับสถานการณ์นั้น แล้วก็ไม่เป็นทุกข์เพราะเรื่องนั้น
คนเราจะอยู่ที่ใดก็ตาม เราควรจะอยู่ให้เบาใจสบายใจ อย่าอยู่ให้มีความทุกข์ความหนักใจ เพราะเมื่อมีความหนักใจขึ้นเมื่อใดแล้ว เราก็ไม่สบายทั้งกายทั้งใจ ถ้าเราไม่มีความหนักใจ แม้ว่าร่างกายเราจะหนักเพราะการเปลี่ยนแปลง แต่ตัวเราก็ไม่มีความทุกข์ความเดือดร้อนเพราะเรื่องอย่างนั้น อันนี้แหละเป็นเรื่องสำคัญ
คราวหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าถูกพระเทวทัตทุ่มหินลงมา แต่ว่าหินนั้นไม่ถูกพระองค์ เพราะไปชนต้นไม้ สะเก็ดนิดหนึ่งมากระทบถูกพระชงฆ์ คือหน้าแข้งของพระพุทธเจ้า เลือดไหลซิบๆออกมา หมอโกมารภัจจ์ก็ทำยาไปปะแผลให้ยาที่ปะนั้นเป็นยาร้อนก็คล้ายๆกับทิงเจอร์ที่เราใช้กัน แต่ว่าใช้ใบไม้ประเภทหนึ่งเอามาพอกไว้แล้วหมอก็กลับบ้าน หมอก็นอนไม่หลับตลอดคืนมีความเป็นห่วง เพราะนึกในใจว่า ยาที่พอกนั้นเป็นยาที่ร้อน พระผู้มีพระภาคคงจะไม่ได้บรรทม เพราะความร้อนของยาที่ผิวหนัง ตื่นแต่เช้ามืดมาเฝ้าดูพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วก็ถามไปด้วยอาการร้อนรนกระวนกระวายใจว่า "เมื่อคืนนี้พระองค์บรรทมหลับเป็นปกติหรือเปล่า" พระผู้มีพระภาคกลับตอบว่า "เราบรรทมหลับเป็นปกติ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น" หมอก็บอกว่า "ข้าพระองค์นอนไม่หลับเมื่อคืนนี้ เพราะมีความกังวลที่ยาปะแผลของพระองค์ว่ามันร้อน" พระผู้มีพระภาคกลับตรัสตอบแก่หมอนั้นว่า "ความร้อนทั้งหลายเราได้ดับมันหมดแล้วที่ใต้ต้นโพธิ์ที่ตรัสรู้ เวลานี้ความร้อนเหล่านั้นไม่มี ท่านจึงไม่ต้องเป็นห่วง ไม่ต้องมีความทุกข์ในเรื่องเกี่ยวกับความร้อนต่อไป" อันนี้เป็นเครื่องแสดงถึงด้าน ความสงบเย็นของจิตใจของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระองค์ไม่มีความร้อน มีแต่ความสงบเย็น ความร้อนนั้นได้ดับไปตั้งแต่วันตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ใต้ต้นโพธิ์แล้ว ต่อจากนั้นก็ไม่มีความร้อนอะไร จะนั่งอยู่ในที่ร้อนก็ไม่ร้อน จะนั่งอยู่ในที่เย็นก็ไม่เย็น จะอยู่ในที่ใดก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นในจิตใจของท่าน
อันนี้เป็นเรื่องพิเศษที่จะเกิดมีเฉพาะบุคคลที่มีจิตหลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง หรือพ้นแล้วจากการยึดมั่นถือมั่นในเรื่องตัวเรื่องตน ที่เราเรียกในภาษาธรรมะว่า "อัตตวาทุปาทาน" คือ การยึดมั่นถือมั่นในตัวฉันในของของฉัน ถ้ายังมีความยึดมั่นอยู่ตราบใด ความทุกข์ก็ยังมีอยู่ ความร้อนก็ยังมีอยู่ อะไรๆที่มันเกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันก็มีอยู่กับผู้นั้น แต่ว่าถ้าถอนความยึดมั่นถือมั่นได้เมื่อใด สิ่งเหล่านั้นมันก็ไม่มี มันมีของมันอยู่ตามธรรมชาติไม่ใช่ว่าไม่มี แต่ว่าจิตไม่ได้เป็นทุกข์เพราะเรื่องนั้น เช่น ว่าความร้อนทางกายก็มีอยู่ เจ็บปวดมันก็มีอยู่ แต่ว่าจิตไม่ปวดในเรื่องนั้น ไม่ได้เจ็บไปกับเรื่องนั้น ดูอาการมันเฉยๆ ไม่มีปฏิกิริยาเกิดขึ้นในใจ อันนี้เป็นเรื่องของจิตใจล้วนๆ
แต่ว่าจิตของพระอริยเจ้านั้น ท่านไม่มีเหมือนเรา จิตท่านแตกต่างจากเรา เพราะท่านปฏิเสธหมดแล้ว ไม่มีอะไรเป็นของท่าน อะไรๆมันเกิดขึ้นท่านก็เฉยๆคล้ายๆกับเรื่องอย่างนี้ เหมือนกับว่ามีอะไรของใครเขาหาย เราไม่ได้เป็นทุกข์กับเขา เช่นว่า คนหนึ่งเขามีของหายไป เรารู้เราก็เฉยๆ ที่เฉยๆ ก็เพราะว่าของนั้นมันมิใช่ของเรา บ้านคนอื่นถูกไฟไหม้อยู่ห่างไกลจากบ้านเรา เราก็ไม่ได้เป็นทุกข์ ไม่ได้เดือดร้อนใจ ที่ไม่ได้เป็นทุกข์ก็เพราะว่าเราไม่ได้นึกว่าเป็นบ้านของเราอยู่นั่นเอง แต่ถ้าว่าบ้านของเราถูกไฟไหม้ เราก็ร้อนอกร้อนใจมีความทุกข์ความเดือดร้อน ความทุกข์ความเดือดร้อนตัวนี้เกิดขึ้นเพราะจิตเข้าไปยึดถือว่าเป็นบ้านของฉัน เงินทองของฉัน อะไรๆ ของฉัน พอเอาคำว่า “ของฉัน” เข้าไปใส่ไว้ไม่ว่าในเรื่องอะไร ความทุกข์มันก็เกิดขึ้นทันที เพราะเรื่องเข้าไปยึดถือในสิ่งนั้น อันนี้แหละเป็นเรื่องที่มีอยู่ในจิตใจของ มนุษย์ทุกคนที่เราพอมองเห็นได้ คือมองเห็นได้ว่า ถ้าเมื่อใดใจเราปล่อยวางเสียได้ เราก็สบายใจ แต่เมื่อใดเรา เข้าไปยึดถือมันไว้ เราก็มีความทุกข์มีความเดือดร้อนใจ
อันนี้สังเกตได้ง่าย ขอให้เราสังเกตคือการศึกษาธรรมะน่ะ เรารู้หลักทางหนังสือแล้วต่อไปก็ต้องเอามาค้นคว้าจากพฤติการณ์ของเราเอง จากความคิด จากการกระทำของเรา แล้วคอยสังเกตว่า เวลาที่เกิดทุกข์นี่มันทุกข์เพราะอะไร เวลาทุกข์ที่หายไป มันหายไปเพราะอะไร เพื่อจะค้นหาสมุฏฐานของความทุกข์ที่เกิดขึ้นภาย ในจิตใจของเรา ถ้าหากเราสังเกตจะพบว่า สิ่งที่ทำให้เราเกิดความทุกข์นั้น ก็คือการยึดมั่นถือนั่นเอง เราจึงเรียกว่า “อุปาทาน” ตามภาษาธรรมะ พอมีอุปาทานขึ้นมาเมื่อใด ใจมันก้ไปติดอยู่กับสิ่งนั้น ไปยึดอยู่กับสิ่งนั้น พอสิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไป ไม่เหมือนใจไม่สมใจเราก็มีความทุกข์ขึ้นมาทันที
อันนี้เป็นเครื่องชี้อยู่ในตัวแล้วว่า เราเป็นทุกข์เพราะ มีความยึดมั่นถือมั่น ถ้าจะไม่ให้เกิดทุกข์ก็ต้องผ่อนคลาย ความยึดมั่นถือมั่นออกไปจากใจของเราเสียบ้าง
เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของปาฐกถาธรรม วันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๐)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 113 เมษายน 2553 โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี)
อ่านต่อ http://www.inwza.com/2014/03/blog-post.html
สมัครสมาชิก:
บทความ
(
Atom
)