ประวัติวัดอภัยทายาราม
ประวัติวัดอภัยทายาราม (วัดมะกอก)
-
ประวัติการ
ปฏิสังขรณ์วัด
ตัวจริงได้ถูกจารึกเป็นเพลงยาวไว้บนแผ่นไม้สักลงรักเขียนทองเก็บรักษาไว้ที่
วัดมาตลอดโดยมิได้เคลื่อนย้ายไปไหน แต่ก็มิได้มีการอนุรักษ์ซ่อมแซม
จนปัจจุบัน เพลงยาวที่จารึกไว้ได้ลบเลือนจนยากที่จะอ่านได้ความ
อย่างไรก็ดี คุณบุญเตือน ศรีวรพจน์
แห่งสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์กรมศิลปากร
ได้พบเพลงยาวฉบับตัวเขียนในสมุดไทย เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ
ซึ่งเนื้อหาตรงกันกับเพลงยาวที่จารึกไว้บนแผ่นไม้ของวัดและได้เขียนแนะนำไว้
พอสังเขปในหนังสือศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนเมษายน ๒๕๔๘ ทำให้ได้ความสมบูรณ์
ในการปฏิสังขรณ์วัดอภัยทายาราม เมื่อปลายสมัยรัชกาลที่ ๑
แต่ในวาระที่วัดอภัยทายาราได้มีอายุครบ ๒๐๐ ปี ใน ๒ ปี่ที่ผ่านมา
วัดอภัยทายาราม เดิมเป็นวัดที่ทรุดโทรม
ซึ่งน่าจะสร้างมาก่อนแล้วตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมา(เจ้าฟ้าเหม็น)
พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
และยังเป็นพระเจ้าหลานเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ
คงเสด็จมาพบเข้า
เห็นว่าวัดนั้นเสื่อมโทรมไม่สมกับเป็นที่ปฏิบัติกิจของสงฆ์
ดังที่เพลงยาวได้กล่าวไว้ดังนี้
-
-
ในอาราม ที่ปลายซอง คลองสามเสน
-
-
เห็นบริเวณ เปนแขมคา ป่ารองหนอง
-
-
ไม่รุ่งเรือง งามอราม ด้วยแก้วทอง
-
-
ไร้วิหาร ห้องน้อย หนึ่งมุงคา
-
-
ไม่ควรสถิศ พระพิชิต มาเรศ
-
-
น่าสังเวท เหมือนเสดจ์ อยู่ป่าหญ่า
-
-
ทั้งฝืดเคือง เบื้องกิจ สมณา
-
-
พระศรัดทา หวังประเทือง ในเมืองธรรม
-
-
เมือเสด็จมาพบเข้าดังนี้ ก็มีพระประสงค์จะทำการกุศล
จึงทรงสั่งการให้เกณฑ์ไพร่มาเตรียมการปฏิสังขรณ์ใหญ่ ณ วัดแห่งนี้
ตั้งแต่ปีจุลศักราช ๑๑๕๙ (พ.ศ.๒๓๔๐) ครั้นถึงปีจุลศักราช ๑๑๖๐ (พ.ศ.๒๓๔๑)
เจ้าฟ้าเหม็นจึงเสด็จถวายพระกฐิน และวางศิลาฤกษ์ พระอุโบสถ
เป็นการเริ่มต้นการปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่ คือ สร้างใหม่ทั้งวัด
อย่างไรก็ดี วัน เดือน ปี ที่ปรากฏในเพลงยาวนั้น
ยังคลาดเคลื่อนกับปฏิทินอยู่บ้างเล็กน้อย
คือกำหนดพระฤกษ์วันเสด็จในการถวายพระกฐิน และวางศิลาฤกษ์
เพลงยาวได้ระบุว่าเป็น(สุริยวาร อาสุชมาล กาลปัก ทวาทัสมี
ปีมเมียสำฤทศกปรมาร) ถอดคำแปลออกมาเป็น วันอาทิตย์ เดือน ๑๑ แรม ๑๒ ค่ำ
ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๖๐
ซึ่งตามปฏิทินนั้นเดือนแรมดังกล่าวจะตรงกับวันจันทร์ไม่ใช่วันอาทิตย์
วัดอภัยทายาราม เมื่อแรกปฏิสังขรณ์นั้นยิ่งใหญ่และงดงามอย่างยิ่ง
เสนาสนะทุกสิ่งอันล้วนวิจิตรบรรจงและอลังการเทียบเคียงได้กับวัดสำคัญๆใน
สมัยนั้น และสิ่งที่เป็นข้อบ่งชีว่าวัดนี้เป็น (วัดสำคัญ) นอกกำแพงพระนคร
คือพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๒ พระองค์
เสด็จพระดำเนินมาในการพระราชกุศลด้วยพระองค์เอง
คือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯและวังหน้า
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความขัดแย้งและหวาดระแวง
ที่ตั้งของวัดจะอยู่ค่อนข้างไกลจากศูนย์กลางของเมืองในขณะนั้น
สามารถจัดได้ว่าเป็นวัดบ้านนอก ดังนั้นการเสด็จมาทั้งสองพระองค์
ในครั้งนี้ย่อมมีนัยยะอย่างใดอย่างหนึ่ง
-
-
ขณะที่พระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๒
พระองค์เสด็จพระดำเนินนั้นวัดยังอยู่ระหว่างก่อสร้าง คือเมื่อเดือนยี่
ปีจุลศักราช ๑๑๖๓ (พ.ศ.๒๓๔๔)
จึงไม่ได้เสด็จมาเพื่อเฉลิมฉลองหากแต่ว่ามาทรงผูกพัทธสีมาจผูกพัดเสมา
ประชุมสงฆ์
แต่ถึงกระนั้นก็เสด็จมาทางชลมารคด้วยกระบวนเรือมหึมาการปฏิสังขรณ์ใหญ่วัด
อภัยทายาราม ใช้เวลาทั้งสิ้น ๘ ปี จึงแล้วเสร็จในเดือน ๓ ปีจุลศักราช ๑๑๖๘
(พ.ศ.๒๓๔๙) ผ่านมาครบ ๒๐๐ ปีในปีนี้พอดี เมื่อการปฏิสังขรณ์สำเร็จบริบูรณ์
จึงมีการเฉลิมฉลองขึ้น เป็นงานใหญ่ ๗ วัน ๗ คืน มีมหรสพละคร
การละเล่นอย่างยิ่งใหญ่และเทียบเท่ากับงานเฉลิมฉลองระดับงานหลวงทั้งสิ้น
องค์ประธานผู้ทรงปฏิสังขรณ์วัด(เจ้าฟ้าเหม็น)
เสด็จร่วมงานฉลองครบทุกวันจนจบพิธี แล้วขนานนามวัดว่า (อไภยทาราม)
สิ่งที่น่าสนใจ และเป็นปริศนา ชวนให้ค้นหาคำตอบของวัดอภัยทายาราม
ทั้งที่ปรากฏอยู่ในเพลงยาว และที่อื่นๆ ไม่ใช่การปฏิสังขรณ์อย่างยิ่งใหญ่
ไม่ใช่การสร้างเสนาสนะ อย่างวิจิตรบรรจง หรือแม้แต่งงานฉลอง ๗ วัน ๗ คืน
ด้วยการละเล่นดุจเดียวกับงานหลวง สิ่งเหล่านี้มีฐานะเป็นแต่เพียงพยานสำคัญ
ที่จะนำไปสู่การไขคำตอบสำคัญ
ซึ่งก็คือเหตุอันเป็นที่มาของชื่อวัดอไภยทารามนั้นเอง นามวัดอภัยทายาราม
เป็นนามที่ตั้งขึ้นใหม่ในชั้นหลัง
เดิมนามวัดตามที่ได้ปรากฏในเพลงยาวขนานนามว่า (อไภยทาราม)
ซึ่งก็น่าจะเป็นนามพระราชทาน
ชื่ออไภยทารามนี้อาจจะดูเหมือนว่าเป็นการตามพระนามของเจ้าฟ้าเหม็นผู้ทรง
ปฏิสังขรณ์วัด ซึ่งครั้งหนึ่ง
เคยได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ แต่พระนาม
“เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์” ของเจ้าฟ้าเหม็นนั้น มิได้ใช้โดยตลอด
เนื่องด้วยมีพระราชดำริเห็นว่าเป็นนามอัปมงคล ที่มาที่ไปของพระนามอัปมงคล
เริ่มต้นและเกี่ยวพันกับพระชาติกำเนิดของเจ้าฟ้าเหม็นในฐานะผู้ที่ทรงอยู่
กึ่งกลางระหว่างความขัดแย้งของพระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์ คือ
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระราชบิดา
และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ คือพระอัยกาหรือ “คุณตา”
ซึ่งได้สำเร็จโทษพระราชบิดาเจ้าฟ้าเหม็น เมื่อคราวเปลี่ยนแผ่นดิน
เจ้าฟ้าเหม็นเป็นพระราชโอรส ในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและ
เจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ พระสนมเอกท่านผู้นี้เป็นธิดาของเจ้าพระยาจักรี
-
-
หรือ
ต่อมาเสด็จขึ้นปกครองแผ่นดินเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯราชกาล
ที่ ๑ในพระราชวงศ์จักรี
เจ้าฟ้าเหม็นประสูติในแผ่นดินกรุงธนบุรีในปีพุทธศักราช ๒๓๒๒ ต่อมาอีกเพียง ๓
ปี คุณตา เจ้าฟ้าจักรี ก็ปราบดาภิเษกขึ้น เป็นพระเจ้าอยู่หัว
สถาปนาพระราชวงศ์ใหม่ โดยได้สำเร็จโทษ “เจ้าตาก”
พระราชบิดาของเจ้าฟ้าเหม็น พร้อมกับพระญาติบางส่วนในเหตุการณ์ครั้งนั้น
ถือเป็นอันสิ้นแผ่นดินกรุงธนบุรี หลังจากเหตุการณ์ล้างครัวเจ้าตากจบลง
ยังเหลือพระราชวงศ์
-
-
สมเด็จ
พระเจ้ากรุงธนบุรี อีกบางส่วนที่ได้รับการยกเว้น รวมทั้งเจ้าฟ้าเหม็นด้วย
พระนามพระราชทานแรกของเจ้าฟ้าเหม็น ที่เป็นนามพ่อตั้ง คือ
เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ พระนามนี้ใช้ในแผ่นดินกรุงธนบุรี
ครั้นต่อมาเมื่อเปลี่ยนแผ่นดินแล้ว พระเจ้าอยู่หัวองค์ใหม่
จึ่งพระราชทานพระนามใหม่ว่า สมเดจ์พระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์
นเรศรสมมติวงษ
-
-
พง
ษอิศวรราชกุมาร อย่างไรก็ดี พระนามเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์
ที่คาดว่าเป็นพระนามที่นำไปขนานนามวัดอไภยทารามนั้น
ตามความเป็นจริงพระนามนี้ใช้อยู่เพียงระยะสั้น
ก็มีพระดำริให้เลิกเสียและเปลี่ยนพระนามใหม่อีกครั้ง
-
-
“ภายหลังข้าราชการกราบบังคมทูลสิ้นพระนามไม่ กราบทูลแต่ว่า
-
-
เจ้า
ฟ้าอภัย จึ่งทรงเฉลียวพระไทย แล้วมีพระราชดำรัศว่า
ชื่อนี้พ้องต้องนามกับเจ้าฟ้าอภัยทัต เจ้าฟ้าปรเมศ เจ้าฟ้าอภัย
ครั้งแผ่นดินกรุงเก่า ไม่เพราะหูเลย จึ่งพระราชทานโปรด
เปลี่ยนพระนามใหม่ว่า เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ์ร นเรศว์รสมมติวงษ
พงษอิศวรราชกุมารแต่นั้นมาฯ”(พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑
ฉบับเจ้าฟ้าพระยาทิพากรวงศ์(ฉบับตัวเขียน), อมรินทร์, ๒๕๓๙, น.
๔๓)เหตุการณ์นี้บันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑
ฉบับ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ฉบับตัวเขียน) ในช่วงปีจุลศักราช ๑๑๔๕ (พ.ศ.
๒๓๒๖) เป็นปีที่ ๒ ในราชกาลที่ ๑ จึงเท่ากับว่า พระนามเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์
ใช้อยู่ได้ไม่เกิน ๒ ปี
จึงยกเลิกเสียด้วยว่าเป็นพระนามอัปมงคลแก่ผู้เป็นเจ้าของ กล่าวคือพระนาม
“เจ้าฟ้าอภัย” ที่ใช้ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยานั้น
เจ้าของพระนามล้วนแต่ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทร์ทุกพระองค์
-
-
นอกจากนี้หลักฐานการเปลี่ยนพระนามยังสอดคล้องกับการอ้างถึงพระนามที่เปลี่ยนใหม่ เมื่อทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
-
-
ยกให้ “ทรงกรม” ในปีพุทธศักราช ๒๓๕๐ หลังจากที่ทรงปฏิสังขรณ์วัดอไภยทาราม ๑ ปี ขณะนั้นทรงใช้พระนามเจ้าฟ้า
-
-
ธร
รมาธิเบศร์อยู่แล้ว ดังนั้น
หากกำหนดระยะเวลาโดยสังเขปเกี่ยวกับพระนามเจ้าฟ้าเหม็น ควรจะได้ดังนี้
เจ้าฟ้าเหม็น เป็นพระนามจำลองคงใช้ตลอดพระชนมายุ เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์
ใช้แต่แรกเกิด ในสมัยกรุงธนบุรีถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.๒๓๒๒ – ๕)
เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ ใช้เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นเวลา ๒ ปี (พ.ศ.
๒๓๒๕-๖) เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ใช้เรื่อยมาจนกระทั่งทรงกรม (พ.ศ. ๒๓๒๖ – ๕๐)
และกรมขุนกษัตรานุชิต ใช้เป็นพระนามสุดท้าย (พ.ศ.๒๓๕๐ – ๒)
ระยะเวลาของการใช้พระนามแต่ละพระนามนั้น ชีให้เห็นว่า
พระนามเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์นั้น ถูกยกเลิกโดยพระเจ้าอยู่หัวราชกาลที่ ๑
ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๓๒๖ หรือเป็นปีที่ ๒ ในราชที่ ๑
ก่อนที่จะทรงปฏิสังขรณ์วัดอไภยทารามในปีพุทธศักราช ๒๓๔๙ เป็นเวลานานถึง ๒๓
ปี น้อกจากนี้พระนามอภัยธเบศร์
ยังได้รับพระราชวิจารณ์ว่า“ไม่เป็นสวัสดีมงคลแก่ผู้มีพระนามนั้น”
จึงไม่มีเหตุผลสมควรที่จะนำพระนามที่เลิกใช้ไปนานแล้ว
และเป็นอัปมงคลกลับมาใช้ใหม่ โดยนำไปตั้งเป็นชื่อวัด
อันควรแก่นามสิริมงคลเท่านั้น
-
-
ดังนั้น หากชื่อวัดอไภยทาราม ไม่ได้ตั้งตามพระนามเจ้าฟ้าเหม็นแล้ว
ชื่อวัดแห่งนี้ย่อมจะมีนัยยะอย่างใดอย่างหนึ่งแอบแฝงไว้หรือไม่
จากความของชื่อวัดดังกล่าวนี้ กับการที่กรมพระราชวังบวรฯ
ผู้ที่ทรงเคยสั่งฆ่าเจ้าฟ้าเหม็น โดยเสด็จมายังวัดแห่งนี้
พร้อมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมายังวัดอไภยซึ่งไม่ใช่ตั้ง
ตามพระนามของเจ้าฟ้าเหม็นนี้ ย่อมมีนัยยะแห่งการ “สมานฉันท์”
ระหว่างกรมพระราชวังบวร กับเจ้าฟ้าเหม็น ประการหนึ่ง
และอาจหมายรวมถึงการยกโทษ หรือ
ขอโทษแก่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไปในเวลาเดียวกันจะเห็นได้ว่า
วัดอไภยทาราม เมื่อแรกปฏิสังขรณ์นั้นไม่ใช่แค่การสร้างวัดให้หลานเล่นแน่
แต่เป็นการสร้างขึ้นอย่างจริงจัง มีเสนาสนะครบบริบูรณ์อย่างวัดหลวง
มีพระอุโบสถ เจดีย์ใหญ่ ลวดลายจิตรกรรมวิจิตรบรรเจิด
มีการเกณฑ์ไพร่มาทำงานนับพันคน นิมนต์พระสงฆ์เกือบ ๒,๐๐๐ รูป มีงานฉลอง
การละเล่น ละครของหลวง ๗ วัน ๗ คืน
สิ่งเหล่านี้คงไม่ได้สะท้อนเพียงเพราะองค์ผู้ปฏิสังขรณ์เป็นเจ้าฟ้า หรือ
หลานรักเท่านั้น แต่สิ่งอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ล้วนแต่เหมาะสมกับการยกโทษ
หรือขอโทษ สำหรับราชภัยในอดีต
-
-
อย่างไรก็ดี เมื่อวัดนี้สร้างเสร็จจนมีงานฉลองในปีพุทธศักราช ๒๓๔๙
นั้น กรมพระราชวังบวรฯ ก็ทิวงคตไปก่อนหน้าแล้วในปีพุทธศักราช ๒๓๔๖
แผนการสมานฉันท์จึงไม่จำเป็นอีกต่อไป
และวัดอไภยทายารามก็ไม่สามารถคุ้มครองเจ้าฟ้าเหม็นได้ตามพระประสงค์
ความพยายามที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในการปกป้องหลานรักจบลง
เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต เพราะหลังจากนัน เพียงไม่กี่วัน เจ้าฟ้าเหม็น
ก็ถูกสำเร็จโทษสิ้นพระชนม์ในต้นราชกาลที่ ๑ แห่งพระราชวงศ์จักรี
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น